องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งตะวันตก

Main Article Content

ธัญชนก ยอดสวัสดิ์
วัน เดชพิชัย
สุจิตรา จรจิตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดและวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งตะวันตก  ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัย และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์จำนวน 9 คน และระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 422 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่า CVI ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงทั้งฉบับ เท่ากับ .98 หาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยวิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์  การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดและวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งตะวันตก  ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัย และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์จำนวน 9 คน และระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 422 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่า CVI ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงทั้งฉบับ เท่ากับ .98 หาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยวิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งตะวันตก มี 5 องค์ประกอบ 55 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 บรรยากาศองค์การ มี 4 องค์ประกอบย่อย  14 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกนสูงสุดเท่ากับ 2.812 มีค่าความแปรปรวนสูงสุดร้อยละ 17.574 องค์ประกอบที่ 2 การมีส่วนรวมของชุมชนมี 2 องค์ประกอบย่อย 6 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกนสูงสุดเท่ากับ 2.728 มีค่าความแปรปรวน สูงสุดร้อยละ 18.186   องค์ประกอบที่ 3 สภาพแวดล้อม มี 5 องค์ประกอบย่อย  15 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกนสูงสุดเท่ากับ 2.358 มีค่าความแปรปรวนสูงสุดร้อยละ 13.872  องค์ประกอบที่ 4 โครงสร้างองค์การ มี 3 องค์ประกอบย่อย  9 ตัวบ่งชี้มีค่าไอเกนสูงสุดเท่ากับ 2.472 มีค่าความแปรปรวนสูงสุดร้อยละ 16.477 และองค์ประกอบที่ 5 พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร มี 5 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกนสูงสุดเท่ากับ 2.571 มีค่าความแปรปรวนสูงสุดร้อยละ 16.069

Article Details

How to Cite
ยอดสวัสดิ์ ธ., เดชพิชัย ว., & จรจิตร ส. (2019). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งตะวันตก. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 6(1), 1–14. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/167150
Section
Research Article

References

กรษณา นรนราพันธ์. (2554). ผลการใช้รูปแบบการมอบหมายงานแบบการจัดการรายผู้ป่วยต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติการพยาบาล ความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันธณา สงนุ้ย. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์ส่งเสริมภูมิปัญญาผู้สูงอายุเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง.ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2559 จาก www.ph.mahidol.ac.th/phjournal/journal/42_1/6.pd

เต็มดวง จำนงค์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักบริหาร คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนใน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

พิมพร ไชยตา. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์. (2549). การศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบการตรวจสอบภายในสถานศึกษาสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เนาวรัตน์ ลิขิตวัฒนเศรษฐ์. (2554). แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสร้างเพื่อเด็กมิได้สร้างเพื่อใคร. วารสารวิชาการ ปีที่ 4 ฉบับเดือนธันวาคม : 26 – 37.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2549). การพัฒนาองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เม็ดทราย.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ยุภาพร ทองลาภ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูในจังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่งตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน)(2558). วัฒนธรรมคุณภาพ:สร้างคน สร้างชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

. (2558).IMD 2015 จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. มองสถิติและตัวชี้วัดทางการศึกษา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 2558.ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2559 จาก http://www.Onec.go.th/ _web/page.php?mod=Book&file=register_short&bid=1421

อรุณชัย กัณฑภา. (2548). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา

อำเภอชะอำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

อัลวี จารงค์. (2551). บรรยากาศองค์การในโรงเรียนเอกชนสามัญ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิศรัฎฐ์ รินไธสง. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณขั้นสูง สำหรับการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. สงขลา : ภาควิชารัฐศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Avolio, W., David, A., & Yammairo. (1990). The Four l’s of Transformational Leadership. Journal of European Industral training. pp. 1-8.

Baskett, S., & Miklos, E. (1992). Perspectives of Effective Principals. The Canadian Administrator.

Colaizzi, P.(1978). Psychological Research as the Phenomenologist Views it. In Existential-

Phenomenological Alternativea for Psychology (Valle R.& King M.eds), Oxford

University Press, London.

Cronbach,L.J.(1971). Essentials of Psychological Testing (3rded.). New York : Harper&Row.

Hair,F.J., Black C.W.,Babin,J.B.,&Anderson,E.R.(2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.).

New ersey: Peason Education.

Hoy, W.K.,& Miskel, C.G. (1991). Educational administration: Theory, research and practice.

(4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Robbins, Stephen.P, & Mary Coulter.(1993). Organizational Behavior (9th ed.). New Jersey : Prentice Hall.

Sweeney.(1986). Research Synthesis of Effective School Leadership. The Role of The Principle. Edited by Devorah Burnett Struthers. pp 121-124.