โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • ณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์
  • อัญสุรีย์ ศิริโสภณ
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความภาคภูมิใจในตนเอง และความสุข และพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษาพยาบาล และตรวจสอบความสอด
คล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 3 ตัว ได้แก่ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความภาคภูมิใจในตนเอง และความสุข โดยใช้แบบสอบถามการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรวัดความภาคภูมิใจในตนเอง และมาตรวัดความสุขเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งเก็บข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 489 
คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL  ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าประสิทธิผลของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความภาคภูมิใจในตนเอง และความสุขของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับมาก และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษาพยาบาลมี
ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตรวจสอบจากค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) เท่ากับ 28.19 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 25 ค่า p เท่ากับ 0.29 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.99 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMR เท่ากับ 0.00 ค่า SRMR เท่ากับ 
0.00 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 และสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 89 นอกจากนี้ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสุข คือ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและความภาคภูมิใจในตนเอง ส่วนตัวแปรที่มี
อิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความสุขโดยส่งผ่านความภาคภูมิใจในตนเอง ได้แก่ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคำสำคัญ : โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ความสุข นักศึกษาพยาบาล

Downloads

Published

2014-01-29

How to Cite

วงศ์ศุภลักษณ์ ณ., ศิริโสภณ อ., & สุขสว่าง พ. (2014). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขของนักศึกษาพยาบาล. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53829

Issue

Section

บทความวิจัย