ผลของการใช้หมากสงและเปลือกสะเดาต่อการกำจัดพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะเนื้อลูกผสม

Authors

  • มงคล คงเสน
  • สมนึก ลิ้มเจริญ

Abstract

การศึกษาหมากสง และเปลือกสะเดา เพื่อใช้ในการกำจัดพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะเนื้อลูกผสม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design: RCBD) แบ่งออกเป็น 3 สิ่งทดลอง 
ใช้แพะเนื้อลูกผสมพื้นเมืองเพศเมียทั้งหมด 15 ตัว อายุระหว่าง 2-3 ปี ใช้จำนวนไข่พยาธิตัวกลมในมูลหนัก 1 กรัม เป็นหลักในการจัดกลุ่มแพะทดลอง ให้มีจำนวนไข่พยาธิเท่ากันหรือใกล้เคียงกันในแต่ละบล็อก แต่ละกลุ่มให้ได้รับสมุนไพรใน
การถ่ายพยาธิ คือ เมล็ดหมากสงและเปลือกสะเดาในรูปน้ำสกัด 3 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัวแพะ 1 กิโลกรัม และยาถ่ายพยาธิเลวามิโซล (กลุ่มควบคุม) 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวแพะ 1 กิโลกรัม เก็บมูลแพะในวันที่ 1, 3, 7, 14, 21, 28 และ 35 หลังถ่ายพยาธิ 
เพื่อตรวจหาจำนวนไข่พยาธิและคำนวณค่าประสิทธิภาพการถ่ายพยาธิ ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการถ่ายพยาธิของกลุ่มที่ใช้ยาเลวามิโซลมีประสิทธิภาพสูงที่สุด (93.63 เปอร์เซ็นต์) แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ใช้น้ำสกัด จากหมากสงและกลุ่มที่
ใช้น้ำสกัดจาก เปลือกสะเดา (78.12 และ 74.59 เปอร์เซ็นต์) หลังการถ่ายพยาธิ 35 วันคำสำคัญ : หมากสง สะเดา พยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหาร แพะเนื้อลูกผสม

Downloads

Published

2014-01-29

How to Cite

คงเสน ม., & ลิ้มเจริญ ส. (2014). ผลของการใช้หมากสงและเปลือกสะเดาต่อการกำจัดพยาธิตัวกลมในระบบทางเดินอาหารของแพะเนื้อลูกผสม. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53831

Issue

Section

บทความวิจัย