ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย

Authors

  • มณีวรรณ สุวรรณมณี
  • วิภา แซ่เซี้ย
  • ประณีต ส่งวัฒนา

Abstract

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้มีมากมาย เนื่องจากผู้ดูแลต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และสภาพร่างกาย อาการของผู้บาดเจ็บที่ไม่แน่นอน ในขณะเดียวกันผู้ดูแลยังคงเผชิญอยู่กับสถานการณ์โหดร้ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน พลังสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ดูแลสามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤตของชีวิตได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบจำนวน 100 ราย ในจังหวัดชายแดนใต้ คือ จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล 2) แบบประเมินพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแล 3) แบบประเมินการรับรู้ภาระการดูแล ซึ่งผ่านการทดสอบความเที่ยงด้วย ครอนบาคของแอลฟ่าเท่ากับ .99 .85 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแลทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ดังนั้นพยาบาลควรหาแนวทางในการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแลให้คงไว้ในระดับสูงต่อไป และหาแนวทางช่วยเหลือผู้ดูแลให้มีการรับรู้ภาระการดูแลให้อยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อคงไว้ซึ่งการดูแลผู้บาดเจ็บในระดับที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนคำสำคัญ : พลังสุขภาพจิต ผู้ดูแล ภาระการดูแล สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้

Downloads

Published

2014-09-17

How to Cite

สุวรรณมณี ม., แซ่เซี้ย ว., & ส่งวัฒนา ป. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53874

Issue

Section

บทความวิจัย