การศึกษาแหล่งผลิตและศักยภาพผลผลิตชีวมวลจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย

Authors

  • สุหฤทธา เต่งแก้ว
  • ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งผลิตและศักยภาพผลผลิตชีวมวลจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย โดยทำการสำรวจข้อมูลพื้นที่การเพาะปลูก ปัจจัยการผลิต และปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแรงจูงใจที่มีต่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่การเพาะปลูก ปัจจัยการผลิต และปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ รวบรวมจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และแรงจูงใจที่มีต่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้ทำการสำรวจผ่านแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ศักยภาพผลผลิตชีวมวลจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยพิจารณาข้อมูลพื้นที่การเพาะปลูก ปัจจัยการผลิต ผลผลิตต่อปี ปริมาณเศษวัสดุเหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยว ปัญหาและอุปสรรค และแรงจูงใจสำหรับการเพาะปลูก  ผลการศึกษา พบว่า ณ ปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด 6.967 ล้านไร่ มีผลผลิตรวม 4.605 ล้านตันต่อปี และมีปริมาณเศษวัสดุเหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยวรวม 6.769 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีปัจจัยด้านการเพาะปลูก คือ สภาวะการผลิต ความต้องการน้ำของพืช สภาวะการตลาดและราคาผลผลิต ระยะเวลาการเพาะปลูก สภาพภูมิประเทศ และค่านิยมและความถนัดที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าแรงจูงใจในการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร คือ การพึ่งพาแรงงานน้อย มีต้นทุนและผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าพืชชนิดอื่น มีขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากและมีความชำนาญ ให้ผลตอบแทนเร็ว และการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยจังหวัดที่มีศักยภาพการผลิตชีวมวลจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงสุด คือ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และน่าน ตามลำดับคำสำคัญ : ศักยภาพผลผลิตชีวมวล พื้นที่เพาะปลูก ลำต้นและใบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

Downloads

Published

2014-09-17

How to Cite

เต่งแก้ว ส., & วิวรรธนะเดช ด. (2014). การศึกษาแหล่งผลิตและศักยภาพผลผลิตชีวมวลจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53881

Issue

Section

บทความวิจัย