การเชื่อมเสียดทานแบบกวนระหว่าง SSM356-T6 กับ AA6061-T651

Authors

  • มูหามัด เต๊ะยอ

Keywords:

การเชื่อมเสียดทานแบบกวน, อะลูมิเนียมผสมต่างชนิด

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปรในการเชื่อมเสียดทานแบบกวนของอะลูมิเนียมผสมต่างชนิดระหว่างอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็ง SSM356-T6 กับอะลูมิเนียมรีดผสม AA6061-T651 ที่มีผลต่อโครงสร้างทาง

โลหะวิทยาและสมบัติทางกลของแนวเชื่อมต่อชน ตัวแปรในการทดลองมี 2 ตัวแปร คือ ความเร็วหมุนเชื่อมที่ 1,700, 2,100 และ 2,500 รอบต่อนาที และความเร็วเดินเชื่อมที่ 30, 60, 90 และ 120 มิลลิเมตรต่อนาที จากการทดลองพบว่าความเร็วหมุน

เชื่อมและความเร็วเดินเชื่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างทางโลหะวิทยาและสมบัติทางกล โครงสร้างทางโลหะวิทยาบริเวณแนวเชื่อมจะประกอบด้วยเนื้อวัสดุของอะลูมิเนียมผสมทั้งสองชนิดที่มีความละเอียดกว่าเนื้อโลหะเดิม ค่าความแข็ง

แรงดึงเฉลี่ยสูงสุด 206.9 เมกกะปาสคาล ที่ความเร็วหมุนเชื่อม 2,100 รอบต่อนาที ความเร็วเดินเชื่อมที่ 60 มิลลิเมตรต่อนาที จากการวิเคราะห์ผลทางสถิติ พบว่า ปัจจัยของความเร็วหมุนเชื่อมและความเร็วเดินเชื่อมมีผลกระทบต่อสมบัติทางกลของแนว

เชื่อมอย่างมี   นัยสำคัญ ส่วนปัจจัยร่วมระหว่างความเร็วหมุนเชื่อมกับความเร็วเดินเชื่อมไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Downloads

How to Cite

เต๊ะยอ ม. (2016). การเชื่อมเสียดทานแบบกวนระหว่าง SSM356-T6 กับ AA6061-T651. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(3), 76–88. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65404

Issue

Section

บทความวิจัย