การเปรียบเทียบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากลำต้นและใบของตะไคร้หอมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

Authors

  • รักชนก ภูวพัฒน์
  • วุฒิชัย ศรีช่วย
  • มูฮัมมัดบาคอรี ยูโซ๊ะ

Keywords:

ตะไคร้หอม, สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ, นราธิวาส

Abstract

ตะไคร้หอมเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ ที่ยังไม่แพร่หลาย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสที่พบพืชดังกล่าวกระจายอยู่มากมาย ส่วนของใบและลำต้นถูกนำมาสกัดด้วยเอทานอล 70% แล้วศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความสามารถ

ในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยเทคนิค GC-MS ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากส่วนลำต้นตะไคร้ พบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ 6 ชนิด คือ 2-Propanone, 1-Hydroxyl, Acetic Acid, a- Citronellol, Hedycaryol, Farnesol Isomer B และ a-

Eudesmol โดยพบ Hedycaryol ในปริมาณสูงสุด ในขณะที่สารสกัดจากใบ พบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ 9 ชนิด ได้แก่ 2- Propanone, 1-Hydroxy, a-Citronellol, a- Eudesmol, 1-Butmolanol, 3- Methyl, Citronello, Geraniol, Geraniol, Endo-1-

Bourbonanol และ Hedycaryol โดยพบ Geraniol ในปริมาณสูงที่สุด สารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการชัก ซึ่งมีสรรพคุณที่น่าสนใจ สามารถประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ได้

Downloads

How to Cite

ภูวพัฒน์ ร., ศรีช่วย ว., & ยูโซ๊ะ ม. (2017). การเปรียบเทียบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากลำต้นและใบของตะไคร้หอมในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 136–142. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/76044

Issue

Section

บทความวิจัย