โมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของผู้สอนด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย

Authors

  • ภัทราวดี วงศ์สุเมธ
  • สมพร พุทธาพิทักษ์ผล
  • วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล
  • อภิญญา อิงอาจ

Keywords:

โมเดลแบบผสมผสาน, ระบบการเรียนผ่านเว็บ, การยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ โมเดลการวิจัยประกอบด้วยตัวแปร 12 ตัว ที่ได้จากการผสมผสานทฤษฎีและแนวคิด 4 เรื่อง ได้แก่ TAM, D&M IS Success Model, Diffusion of Innovations และแนวคิดด้านจิตวิทยา โดยตัวแปรทั้งหมดถูกจำแนกเป็น 4 กลุ่มปัจจัย คือ 1)
ปัจจัยเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้ 2) ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศ 3) ปัจจัยด้านลักษณะนวัตกรรม และ 4) ปัจจัยด้านจิตวิทยา เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม โดยรวบรวมข้อมูลจากอาจารย์ผู้สอนด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศจำนวน 295 ราย
ซึ่งสังกัดในมหาวิทยาลัยไทย 24 แห่งทั่วประเทศ และวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรในโมเดลการวิจัยด้วยโปรแกรม LISREL 8.80
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โมเดลการวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทยได้ร้อยละ 81.10 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ความตั้งใจในการใช้ 2) คุณภาพในการดำเนินงานของระบบ และ 3) คุณภาพของสารสนเทศ

Downloads

How to Cite

วงศ์สุเมธ ภ., พุทธาพิทักษ์ผล ส., เสรีตระกูล ว., & อิงอาจ อ. (2017). โมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของผู้สอนด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 122–138. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85620

Issue

Section

บทความวิจัย