การพัฒนานวัตกรรมผ้าอ้อม “ผ้าเตียวสายเดี่ยว” ในทารกเกิดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • วนิสา หะยีเซะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • วิมลวรรณ ดำคล้าย
  • ลาตีฟาร์ มนุกูล

คำสำคัญ:

นวัตกรรมผ้าเตียว, ทารกเกิดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งานและค่าใช้จ่ายก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมผ้าเตียวสายเดี่ยว กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่พยาบาล จำนวน 25 ราย ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้ทดลองใช้นวัตกรรมผ้าเตียวสายเดี่ยวที่นักวิจัยได้พัฒนาขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ในส่วนเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามประสิทธิภาพในการใช้งาน แบบบันทึกค่าใช้จ่าย มีการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และแก้ไขตามคำแนะนำหลังจากนั้นนำมาทดลองใช้ โดยแบบสอบถามมีการคำนวณค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ 0.86 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบ t-test
     ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมของประสิทธิภาพในการใช้นวัตกรรมผ้าเตียวสายเดี่ยวสูงกว่าการใช้ผ้าเตียวที่ใช้ปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 23.97, p< 0.05) และค่าเฉลี่ยจำนวนเงิน (บาท) ต่อวัน ในกลุ่มที่ใช้นวัตกรรมผ้าเตียวสายเดี่ยวน้อยกว่าผ้าอ้อมสำเร็จรูป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 21.16, p< 0.05) จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมผ้าเตียวสายเดี่ยวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลเพื่อการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถลดต้นทุนการดูแลทารกได้อีกด้วย

References

Boonya-Apichart, C., Vichitsukon, K., & Sithichai, K. (2007). The effect of nest on body Temperature on Low birth Weight Newborns. Siriraj Nursing Journal, 1(2), 1-10.

Department of health. (2014). National Health Development Plan No. 11. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King.

Janthamongkul, K. (2013). Newborn Nursing. (8th ed.) Samut Prakan: Huachiew Chalermprakiet University Press.

Kagtamneam, K. (2011). Nursing Innovation. Journal of Phrapokklao Nursing College, 22(2), 71-79.

Kitsommart, R., & Phatthanasiriwetin, S. (2005). Accuracy and precision of digital thermometer in neonatal temperature measurement. Siriraj Medical Journal, 5(7), 128-131.

Kongpet, J. (2014). Comparison of the Effects of the Skin Care Programs on Incidence and Severity Levels of Diaper Dermatitis in Children with Diarrher. Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree of Master of Nursing Science (Pediatric Nursing) Prince of Songkla University.

Limrungsikul, A., & Pongmee, P. (2016). Textbook of Neonatal Resuscitation. Bangkok: Thai Neonatal Society.

Naradhidwasrajanagarindra hospital. (2016). Health report 2016. Copy.

Punthmatharith, B. (2012). Nursing care of Acute and Chronically. Songkhal: Chanmung.

Regional Health Promotion Center 12 Yala. (2015). The Report Health of 2015. In copy.

Samugjung, A. (2016). Practice guidelines for prevention of hypothermia among newborn patients. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(1), 60-76.

Schlez, A., Litmanovitz, I., Bauer, S., Dolfin, T., Regev, R., & Arnon, S. (2011). Combining kangaroo care and live Harp music therapy in the neonatal intensive care unit setting. Image, 13, 354-357.

Singsuwan, C., Wattannasit, P., & Punthmatharith, B. (2015). Relationship between stress and coping of muslim adolescent mothers having premature infants admitted in neonatal intensive care units in the three southern border provinces. Songklanakarin Journal of Nursing, 35(Spicial edition), 99-113.

Sodsuk, K., Pookboonmee, R., & Daramas, T. (2011). Clinical Nursing Practice Guideline for Hypothermia Prevention in Preterm Infants by Using Plastic Wrap under a Radiant Warmer. Ramathibodi Nursing Journal, 17(2), 191 – 202.

Srisatatidnarakul, B. (2008). The Methodology in nursing research. Bangkok: U & I intermedia.

Wannachad, J. (2011). Preterm. Nursing. Journal of Phrapokklao Nursing College, 22(1), 83-90.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-01-15