การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • Uma Juntawises 0858910079
  • Suthisa Temtap
  • Sukhuma Klankaew
  • Chaveewan Yeesakoon

คำสำคัญ:

ต้นทุนกิจกรรมพยาบาล, ระยะเวลา, ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนกิจกรรมพยาบาลต่อหน่วย    และระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยใช้แนวคิดระบบต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย

อายุรกรรมชาย 1 จำนวน 70 คน และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 และเลือกตัวอย่างผู้ป่วยแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เก็บข้อมูลจาก 2 แหล่ง คือ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมพยาบาล และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เงินเดือนของบุคลากรในหอผู้ป่วย ระยะเวลาเก็บข้อมูล 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนกรกฎาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาล ชุดที่ 4 แบบบันทึกสรุปปริมาณเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลแต่ละกิจกรรมและปริมาณกิจกรรม      ชุดที่ 5 แบบบันทึกข้อมูลค่าแรงของบุคลากรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 ชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรทางการพยาบาลหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.98  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแต่ละกิจกรรมเป็นเงิน 355,324.19 บาท  ต้นทุนการพยาบาลเฉลี่ยต่อราย 12,544.87 บาท ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลหลักแบ่งเป็น 4 กิจกรรม โดยกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมีต้นทุนกิจกรรมสูงสุด จำนวน  328,219.77 บาท รองลงมาคือ กิจกรรมการวางแผนจำหน่าย จำนวน 22,299.70  บาท กิจกรรมการเตรียมความพร้อม 2,724.33 บาท และ กิจกรรมที่มีต้นทุนกิจกรรมต่ำที่สุด คือ กิจกรรมการดูแลแรกรับ 2,108.95  บาท ต้นทุนค่าแรงรวม 239,628.41 บาท  (ร้อยละ  67.06  )  ต้นทุนวัสดุ 50,446.66 บาท  (ร้อยละ 14.36)  และต้นทุนปันส่วน  65,249.12 บาท  (ร้อยละ 18.58)  สัดส่วนร้อยละของการจัดการระยะเวลากิจกรรมการเตรียมความพร้อม กิจกรรมการดูแลแรกรับ กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจและกิจกรรมการวางแผนจำหน่าย เท่ากับ 1.08 : 0.83 : 89.07 : 9.02

References

Boonburapong, T. (2013). Respiratory care in clinical practice. Anesthesiology Department. Faculty of Medicine. Ramathibodi Hospital. Mahidol University, Bangkok.

Comptroller General’s Department. (2014). How to calculate cost of production of Public service in fiscal year 2014.

Jack, BW, Chetty, VK, Anthony, D, Greenwald, JL, Sanchez, GM, Johnson, AE,…Culpepper, L. A. (2009) Reengineered Hospital Discharge Program to Decrease Rehospitalization: A Randomized Trial. Annals of Internal Medicine.; 150(3), 178–187. Retrieved September 12, 2016, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3207188/

Kaplan, R.S., & Cooper, R. Cost & Effect. (1998). Using Integrated Cost Systems to Drive Profitability and Performance, Harvard Business School Press.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. Retrieved January 5, 2015, from https://home.kku.ac.th/sompong/guest.../KrejcieandMorgan_article.pdf

Nanna, A., Inmai, P., & Pornchaiwiseskul, P. (2013). Complete report : Medical School Costs Study. Analysis of cost drivers. Health Insurance System Research Office and Health System Research Institute. Retrieved September 12, 2017, from https://www.hisro.or.th/main/ modules/research/attachfinancing/164/Full-text.pdf. (In Thai)

Singchagchai, P. (2016). Health economics for health services. 3rd ed. Songkhla: Chanmuang,. (In Thai)

Saengheang, U. & Phonprasert, W. (2007). Cost Analysis of Nursing Service Activities in the Intensive Care Unit, Prince of Songklankarind Hospital .Journal of Safety and Health , 1(1), 25-36.

Tansakoon, B. (2008). Cost analysis and service charge: a case study of the service charge at Songklanagarind Hospital. Songkla Med J. 26(1), 85-97. (In Thai)

Tipmongkol, V., & Puriwattanakul, N. (2015). Cost Analysis of Nursing Service Activities and Time Services for ACL Reconstruction Patients in the Male Orthopedic Surgical Ward of Songklanagarind Hospital. Journal of Health and Health Management., 2(2). (In Thai)

Uden, L.D., & Roode, J.L. (1997). Work sampling: A decision-making tool for determining resources and work redesign. The Journal of Nursing Administration, 27(9), 34-41. Retrieved January 3, 2015, from https://journals.lww.com/jonajournal/Abstract /1997/09000/ Work_Sampling _A_Decision_Making_Tool_for.9.aspx

Wannawipaporn, .P., Janjai, P., & Yooyod, S. (2017). Activity-Based Costing (ABC) and Diagnosis-Related Group Costing (DRGC) for Treatment of Children Suffering from Pneumonia in the Paediatric Ward of Chiangkham Hospital. Thai Journal of Nursing Council, 32(1), 146-157. (In Thai)

Weiss, M.E., ,Yakusheva,.O., & Bobay, K.L. (2011). Quality and Cost Analysis of Nurse Staffing, Discharge Preparation, and Postdischarge Utilization. Health Serv Res. 46(5), 1473–1494. Retrieved July 12, 2017, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3207188/

Wirotwanit, N., Thongkhamrod, R., & Hingkanont, P. (2014). Cost Analysis of Nursing Service Activity in Emergency Department Naresuan University Hospital. Journal of Nursing and Health Sciences, 8(3), 252-67. (In Thai).

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-01-22