การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนและความแข็งแรงเฉือนของรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมผสม AA6063 และเหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติค AISI430

Authors

  • ศักดิ์ชัย จันทศรี
  • สมควร แววดี
  • กิตติพงษ์ กิมะพงศ์

Keywords:

การเชื่อมเสียดทานกวน, ความแข็งแรงเฉือน, รอยต่อเกย, อะลูมิเนียม, เหล็กกล้าไร้สนิม

Abstract

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาอิทธิพลตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนที่มีผลต่อความแข็งแรงเฉือนของรอยเชื่อมต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมผสม เกรด AA6063 และเหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติค เกรด AISI430 ผลการทดลองพบว่า
การเปลี่ยนแปลงตัวแปรการเชื่อมส่งผลต่อความแข็งแรงเฉือนของรอยต่อเกย ตัวแปรการเชื่อมที่เหมาะสมและทำให้เกิดแนวเชื่อมมีความแข็งแรงเฉือนเท่ากับ 11,870 นิวตัน คือความเร็วรอบ 500 รอบต่อนาที ความเร็วเดินแนวเชื่อม 50 มิลลิเมตรต่อ
นาที ความลึกของตัวกวน 3.1 มิลลิเมตร และความเอียงของตัวกวน 2 องศา การลดความเร็วรอบ การเพิ่มความเร็วเดินแนวเชื่อมและการเพิ่มความเอียงของเครื่องมือเชื่อมสามารถเพิ่มความแข็งแรงเฉือนของรอยต่อเกยให้สูงขึ้นและแสดงตำแหน่งการพังทลายที่แตกต่างในชิ้นทดสอบ โครงสร้างจุลภาคบริเวณผิวสัมผัสของรอยต่อแสดงชั้นการรวมตัวและอัดตัวของโลหะทั้งสองซึ่งเกิดจากการกวนที่รุนแรงของเครื่องมือเชื่อม

Downloads

Published

2017-09-15

How to Cite

จันทศรี ศ., แววดี ส., & กิมะพงศ์ ก. (2017). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนและความแข็งแรงเฉือนของรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมผสม AA6063 และเหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติค AISI430. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 121–129. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/99142

Issue

Section

บทความวิจัย