การขยายพันธุ์ว่านค้างคาวเขียวโดยกระบวนการออการ์โนเจเนซิส

Authors

  • สุภาวดี รามสูตร
  • กันตนา คงชำนาญ
  • เบ็ญจวรรณ สมบูรณ์

Keywords:

ว่านค้างคาวเขียว, การขยายพันธุ์, ออการ์โนเจเนซิส

Abstract

การศึกษานี้เป็นการขยายพันธุ์ว่านค้างคาวเขียวโดยกระบวนการออการ์โนเจเนซิสโดยนำแคลลัสว่านค้างคาวเขียวอายุ 1 เดือน มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS BA เข้มข้น 0, 1, 2 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมด้วยน้ำตาล 30 กรัมต่อลิตร
และผงวุ้น 8 กรัมต่อลิตรวางเลี้ยงในสภาพให้แสงที่ความเข้มแสง 3,000 ลักซ์ เป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส หลังจากวางเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าอาหารที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณยอดว่านค้างคาวเขียวคือ
อาหารสูตร MS เติม BA เข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้จำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 16.00±4.96 ยอดต่อชิ้นส่วน แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) และความยาวยอดเฉลี่ยสูงสุด 0.46±0.15 เซนติเมตร และอาหารสูตร MS ที่ปราศจากการเติมสาร
ควบคุมการเจริญเติบโตพบว่า ให้จำนวนใบและความกว้างใบเฉลี่ยสูงสุดคือ 9.11±5.32 ใบต่อชิ้นส่วนและ 1.45±1.61 เซนติเมตรตามลำดับสำหรับการชักนำราก โดยนำชิ้นส่วนรากมาเพาะเลี้ยงต่อบนอาหารสูตร MS เติม IAA เข้มข้น0, 1, 2 และ 3
มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ายอดที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS เติม IAA เข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้การสร้างรากสูงสุดคือ 23.98±9.36 % แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) และมีจำนวนรากเฉลี่ยสูงสุด 3.28±1.59 รากต่อ
ชิ้นส่วน และอาหารสูตร MS ที่ปราศจากการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ให้ความยาวรากเฉลี่ยสูงสุด 0.87±0.35 เซนติเมตร แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) เมื่อทำการอนุบาลต้นกล้าว่านค้างคาวเขียวออกปลูกในสภาพธรรมชาติ การ
รอดชีวิตสูงสุด 50% หลังจากย้ายปลูกเป็นเวลา 1 เดือน

Downloads

Published

2017-09-15

How to Cite

รามสูตร ส., คงชำนาญ ก., & สมบูรณ์ เ. (2017). การขยายพันธุ์ว่านค้างคาวเขียวโดยกระบวนการออการ์โนเจเนซิส. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 140–148. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/99146

Issue

Section

บทความวิจัย