ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

Authors

  • สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล

Keywords:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความร่วมมือในการรับประทานยา, ความดันโลหิตสูง, Self-efficacy, Medication adherence, Hypertension

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิต ตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปากพลีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวน 387 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิต ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของ Fernandez และคณะ (2008) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอันดับของ

สเปียร์แมน และแบบพอยท์ไบซีเรียล

ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิตของตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำร้อยละ 80.4 ระดับปานกลางร้อยละ 18.3 และ ระดับสูงร้อยละ 1.3 และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิต มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับอายุ สถานภาพสมรส ความถี่ในการรับประทานยาลดความดันโลหิต ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ความถี่ของการมาตรวจตามนัด การรับประทานยาลดความดันโลหิต การควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ การเดินทางไม่สะดวกเพื่อมารับยา และการเกิดอาการข้างเคียงเมื่อรับประทานยาลดความดันโลหิต (p < .01)  มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับเพศ และประวัติโรคร่วม (p < .05) มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับระดับการศึกษา และการลืมรับประทานยา (p < .01) ดังนั้น แนวทางการพยาบาลผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ควรคำนึงถึงการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิตเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาที่เหมาะสมต่อไป              

 

คำสำคัญ: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน; ความร่วมมือในการรับประทานยา; ความดันโลหิตสูง

 

 

FACTORS RELATED TO MEDICATION ADHERENCE SELF-EFFICACY AMONG HYPERTENSIVE PERSONS  IN PAK-PLEE, NAKHON NAYOK PROVINCE


Abstract

 

The aim of this descriptive research was to examine factors related to medication adherence self-efficacy among hypertensive persons. The Shortened Revised Medication Adherence Self-efficacy Scale (MASES-R) (Fernandez, et al., 2008) was administered to 387 persons with essential hypertension attending at the outpatient department, Pak-Plee Hospital and Tambon Health Promoting Hospital in Nakhon Nayok Province between April and May 2014. The Cronbach’s alpha coefficient for MASES-R questionnaire was 0.89. Data were analyzed using descriptive statistics, including percentage, mean, standard deviation, Spearman’s rank correlation coefficient, and Point biserial correlation.

            The results showed that the MASES scores among sample were at high level (80.4%), at moderate level (18.3%), and at low level (1.3%), respectively. The result of point biserial analysis demonstrated MASES was less positively and significantly associated with age, marital status, maximum daily dose frequency, duration of hypertension, frequency of follow-up visits, blood pressure control (p < .01). For spearman’s rank correlation analysis disclosed MASES was significantly associated with gender and co-morbid diseases (p <.05), but less positively related. Education level, and forgetfulness were significantly associated with MASES (p < .01), but less negatively associated. Moreover, travel inconvenience and encounter side effect were significantly associated with MASES (p < .01), but less positively associated.

            Findings recommended the medication adherence self-efficacy should be addressed in nursing care strategies among hypertensive persons to improve medication adherence behavior in daily nursing practice at primary care unit. 

 

Keywords: Self-efficacy; Medication adherence; Hypertension

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ธัชศฤงคารสกุล ส. (2014). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 6(1), 113–130. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/22035

Issue

Section

Research Articles