การศึกษาความวิตกกังวลของครอบครัวต่อกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจ ณ.กองกำลังเฉพาะกิจ ทางอากาศ 9 สนามบินบ่อทอง จังหวัดปัตตานี

Authors

  • วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์

Keywords:

ครอบครัว, ความวิตกกังวล, กองกำลังกองทัพอากาศ, Family, Anxiety, Air Task Force

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนา (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความวิตกกังวลของครอบครัวต่อกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจ ณ.กองกำลังเฉพาะกิจทางอากาศ 9 (กกล. ฉก 9) สนามบินบ่อทอง จังหวัดปัตตานี 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลของครอบครัวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาวิธีการช่วยลดความวิตกกังวลของครอบครัวต่อ กกล. ฉก 9 ตัวอย่างคือ คนในครอบครัว จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความวิตกกังวล  ส่วนที่ 3 แบบสอบถามวิธีการช่วยลดความวิตกกังวล และส่วนที่ 4 คำถามปลายเปิด  มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 ข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์ด้วย การแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ วิเคราะห์ระดับความวิตกกังวลของครอบครัวด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความวิตกกังวล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลคือ กลุ่มอายุและลักษณะความสัมพันธ์วิเคราะห์ด้วย F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลรวมของครอบครัว กกล.ทอ.ฉก.อยู่ในระดับปานกลาง 9     ( = 2.13)  โดยความรู้สึกพะวงเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อ กกล.ทอ.ฉก.9  = 3.93  รู้สึกห่วงใยกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับ กกล.ทอ.ฉก.9 = 3.93  รู้สึกไม่สบายใจ = 3.61 รู้สึกทุกข์ร้อนใจ= 3.55 มีอาการนอนไม่หลับ  = 2.66 มีอาการปวดศีรษะและเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย= 2.38 และ 2.15 ตามลำดับ คะแนนน้อยสุดคือไม่ค่อยสนใจตนเอง = 1.48 2) เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของครอบครัวจำแนกตามอายุและลักษณะความสัมพันธ์  มีค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    ( F = 5.993 และ F = 2.646 ตามลำดับ) และ 3) วิธีช่วยลดความวิตกกังวลของครอบครัว กกล.ทอ.ฉก.9  คือต้องการให้กลับมาพักตามระยะเวลาทุก 20  วัน มากที่สุด = 4.66  รองลงมาคือ ต้องการทราบข่าวการเคลื่อนไหวของ กกล.ทอ.ฉก.9  = 4.28  ต้องการให้ กกล.ทอ.ฉก.9  ติดต่อครอบครัวสม่ำเสมอ = 4.25 ต้องการรับฟังคำชี้แจงวิธีการทำงานของ กกล.ทอ.ฉก.9  = 4.00 ต้องการชมวีดีทัศน์ที่เกี่ยวกับ กกล.ทอ.ฉก.9 = 3.96  ต้องการทราบข้อมูลการเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติหน้าที่ที่ ฉก 9   = 3.96

ผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่า  ผู้รับผิดชอบจัดเวลาผลัดเปลี่ยนกำลังให้ กกล.ฉก 9 กลับมาพักตามระยะเวลาทุก 20  วัน ตามที่วางแผนไว้ ควรหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อสื่อสารระหว่างครอบครัวภายใต้ขอบเขตที่ได้รับอนุญาต  ควรจัดทำวีดีทัศน์เพื่อให้ข้อมูลต่อครอบครัว ด้านขอบเขตการทำงาน เหตุการณ์ที่ กกล.ฉก 9 อาจเผชิญ และวิธีการเตรียมการเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อยู่ภายใต้สภาวการณ์ความเสี่ยง

 

 

 

A study of Families’ Anxiety of the Air Force Personnel Stationed at  Air Task Force 9; Bortong, Pattani.

Group Captain Watcharaporn Paorohit, PhD

Abstract 

The objectives of this descriptive research were 1)to examine families’ anxiety levels,     2) to compare mean scores of families’ anxiety classified by personal characteristics and 3) to discover the ways to alleviated families’ anxiety of the of air force personnel stationed at Air Task Force 9; Bortong, Pattani. Samples were 60 family members participated in the study.  Research instrument was questionnaire which composed of 4 parts; part1 demographic data, part 2 anxiety measurement, part 3 the ways to alleviate anxiety and part 4 open ended question. Data were analyzed by arithmetic mean, and f-test. 

Research results were as follows: 1) mean scores of the families’ anxiety of air force personnel stationed at Air Task Force 9, Bortong, Pattani. were at moderate level (= 2.13): mean scores of concerning safety= 3.93, concerning danger = 3.93, feeling of distress  = 3.61, suffering  = 3.55, insomnia  = 2.66, headache, fatigue  = 2.38, = 2.15 respectively. The lowest scores were lack of interested in oneself  = 1.48; 2) the comparison of families’ anxiety scores classified by personal characteristics of age and relationship revealed significant differences at .05 level (F = 5.993, F = 2.646 ); and 3) the ways to alleviate families’ anxiety were the need of the air task force to leave from work every 20 days = 4.66, the need to know their movement = 4.28, the need to get in touch  = 4.25, the need to recognize how they work = 4.00, the need to watch video of their activities = 3.96, the need to know how they were trained before doing missions = 3.96. 

The research results indicated that families needed the air task force to leave from work every 20 days.  They needed to watch video related to the air task force mission and how they were trained to fight when they were at risk.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-01-02

How to Cite

เปาโรหิตย์ ว. (2015). การศึกษาความวิตกกังวลของครอบครัวต่อกำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจ ณ.กองกำลังเฉพาะกิจ ทางอากาศ 9 สนามบินบ่อทอง จังหวัดปัตตานี. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 6(2), 109–120. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/27825

Issue

Section

Research Articles