ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด: การสังเคราะห์งานวิจัยในประเทศไทย

Authors

  • วิภาวรรณ ทองเทียม
  • ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Nurse Chulalongkorn University
  • ชนกพร จิตปัญญา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Nurse Chulalongkorn University

Keywords:

กิจกรรมทางกาย, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ, การออกกำลังกาย, ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด, physical activity, exercise behavior, cardiac rehabilitation, exercise, patients with cardiovascular disease

Abstract

             การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ตัวอย่างคือ งานวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาที่ทำการศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2543-2552 จำนวน 10 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกคุณลักษณะของงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

             ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 10 เรื่อง ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2552  ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย 7 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของ Penderมากที่สุด จำนวน 6 เรื่อง ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุด จำนวน 7 เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า อายุมีความสัมพันธ์ทั้งทางลบและทางบวกกับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปัจจัยด้านความคิดและความรู้สึกเฉพาะต่อพฤติกรรมพบว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ประโยชน์ ความสามารถในการทำกิจกรรม การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ อิทธิพลระหว่างสถานการณ์ การรับรู้ความเสี่ยงและความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด การรับรู้อุปสรรคความสัมพันธ์ทางลบกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดและปัจจัยด้านผลพันธ์ของพฤติกรรมพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดส่วนใหญ่มีการทำกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับดี ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนางานวิจัยทางการพยาบาลและเป็นข้อมูลในการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและถูกต้องต่อไป

 

 

FACTORS RELATED TO PHYSICAL ACTIVITY IN PATIENTS WITH CARDIOVASCULAR DISEASE: SYNTHESIS OF RESEARCH IN THAILAND

 

Abstract

             This purposes of this research were to study research characteristics from a review of literature related to factors that were correlated with the physical activity of patients with cardiovascular disease and to summarize knowledge about the factors that are correlated with the physical activity of patients with cardiovascular disease. The samples in this study were ten graduate studies during the years 2000-2009. An instrument used in this study was data extraction form developed by the researchers. Studies were analyzed for their general methodological and substantive characteristics.

             The results were as follows: the research is used to synthesize research in graduate (100 %), which was published between the years 2000 to 2009; most of the studies were descriptive research (70 %). Pender’s concept of health promotion was most to use in this study (60 %). For factors related to physical activity with cardiovascular disease: Personal factors, including age was the negatively and positively correlated with physical activity of patients with cardiovascular disease and gender, education level, marriage status, and income were positively correlated with physical activity of patients with cardiovascular disease. Behavior-Specific Cognition and affect factors, including efficacy, perceived benefits, ability to make activities, social support, activity-related affect, situational influences, risk perception, and anxiety were positively correlated with physical activity of patients with cardiovascular disease. Perceived barriers were negatively correlated with physical activity of patients with cardiovascular disease. And behavior outcome factors were at a good level of physical activity in patients with coronary heart disease. The results of this study can be applied to the empirical data in the development of nursing research for prevention and health promotion to have proper physical activities.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-06-30

How to Cite

ทองเทียม ว., ตันติโกสุม ป., & จิตปัญญา ช. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด: การสังเคราะห์งานวิจัยในประเทศไทย. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 8(1), 34–43. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/65180

Issue

Section

Research Articles