การลดความเสี่ยงจากการใส่สายยางให้อาหารทางจมูก

Authors

  • เตือนใจ เจริญบุตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น Faculty of Nursing Western University

Keywords:

การลดความเสี่ยงจากการใส่สายยางให้อาหารทางจมูก, reducing the risks of nasogastric tube

Abstract

           การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่พบได้บ่อยและมีความเสี่ยงหรือมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายยางเข้าทางรูจมูกจนถึงกระเพาะอาหาร เช่น ไซนัสอักเสบ การระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ สายยางทะลุหลอดอาหาร ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด ทางเดินหายใจอุดกั้น ปอดอักเสบจากการสำลัก หรือการติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขณะใส่และถอดสายยางให้อาหาร แม้จะมีรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใส่สายยางให้อาหารทางจมูกจำนวนไม่มาก แต่พบว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีโอกาสเกิดความรุนแรงจนถึงขั้นชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่สายยางให้อาหารทางจมูกควรลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่การพิจารณเหตุผลในการใส่สายยางให้อาหาร การบันทึกข้อมูลทางการพยาบาลในการลดความเสี่ยงและบอกเหตุผลในการปฏิบัติ การตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารทางจมูก และการดูแลสายยางให้อาหารทางจมูก เพื่อความปลอดภัย ลดอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิต ปรับปรุงความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติที่ได้รับการใส่สายยางให้อาหารทางจมูก ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความมั่นใจในการดูแล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

 

 

REDUCING THE RISKS OF NASOGASTRIC TUBES


Abstract

           Inserting a nasogastric tube is a common nursing activity.  The patient with nasogastric tube may be at risk or has the chance of complications from it, such as sinusitis, respiratory tract irritation, esophagus perforation, pneumothorax, airway obstruction, aspiration pneumonia, or the infection of the lungs, which these risks can occur while inserting and removing the nasogastric tube. Despite there are not many risk reports of inserting nasogastric tube, the death can happen. So nurses should reduce these probable risks. The methods to reduce risks are: selecting the reasons to insert the nasogastric tube, documenting about nursing in reducing risks, and finding the reason to practice. Moreover, checking the position of the nasogastric tube, caring the feeding tube for safety, reducing morbidity and mortality rates, and improving patients’ and their relatives’ satisfaction can lead to the confidence in the administration, reduce the cost of care, and increase the quality of patients’ lives.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-12-31

How to Cite

เจริญบุตร เ. (2016). การลดความเสี่ยงจากการใส่สายยางให้อาหารทางจมูก. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 8(2), 231–238. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/76117

Issue

Section

Academic Articles