รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Authors

  • สุขอรุณ วงษ์ทิม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยา, ค่านิยมในองค์กร, psychological training model, organizational value

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 3) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ที่ใช้ในการศึกษาค่านิยมในองค์กร เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 739 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากประชากร กลุ่มที่ 2 เป็นบุคลากรจำนวน 30 คน สำหรับการเสริมสร้างค่านิยมในองค์กร มาจากบุคลากรจำนวน 739 คน ที่มีคะแนนค่านิยมในองค์กรตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา และสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดค่านิยมในองค์กรที่มีความตรงเชิงโครงสร้าง และค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 2) รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กร และ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่มเฉพาะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัย มีดังนี้

             1. การศึกษาค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พบว่าค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีจำนวน 4 ด้าน คือ ร่วมแรงใจ ใฝ่คุณธรรม นำสิ่งใหม่ เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

             2. รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดและเทคนิคของทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบสั้นที่มุ่งเน้นคำตอบและเทคนิคอื่นที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการฝึกอบรมจำนวน 14 ครั้ง แต่ละครั้งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติ

             3. การศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กร พบว่า กลุ่มทดลองมีค่านิยมในองค์กรเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่าหลังและก่อนการทดลอง และกลุ่มทดลองมีค่านิยมในองค์กรสูงกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล

             4. บุคลากรมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรในทุกประเด็น โดยแสดงความคิดเห็นว่าการฝึกอบรมนี้ช่วยเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของตน สามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์สำหรับการทำงานและควรจัดฝึกอบรมนี้ให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชให้ครบทุกคน

 

 

 

A PSYCHOLOGICAL TRAINING MODEL FOR ENHANCING ORGANIZATIONAL VALUE OF PERSONNEL IN SUKHOTHAI THAMMATHIRAT OPEN UNIVERSITY

 

Abstract

             The objectives of this research were 1) to study organizational value of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University, 2) to develop a psychological training model for enhancing organizational value of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University, 3) to study effectiveness of the psychological training model for enhancing organizational value of personnel, and 4) to study satisfaction on the psychological training model for enhancing organizational value of an experiment group. The samples were divided into 2 groups. Group 1 for the studying of organizational value were 739 personnel of Sukhothai Thammathirat Open University obtained from stratified random sampling from the population. Group 2 were 30 personnel for the organizational value enhancement and they were obtained from 739 personnel whose organizational value scores were lower than the 50th percentile and they were simply random selected into an experimental group and a control group with 15 persons in each group. The instruments were 1) an organizational value scale with structural validity and reliability of .97, 2) a psychological training model for enhancing organizational value, and 3) topic of focus group. Data were analyzed by mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, repeated measures ANOVA and content analysis.

             The research results were as follows:

             1. The study of organizational value of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University was found that the organizational value consisted of 4 factors, including synergy, transparency, originality and ubiquitous learning. The overall organization value and each aspect were in high level.

             2. The psychological training model for enhancing organizational value of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University was developed from the concepts and the techniques of rational emotive behavior therapy, behavior counseling theory, reality counseling theory, solution focus counseling theory, and other related techniques. There were 14 sessions of psychological training program, each program consisting 3 stages: beginning, processing and ending stage.

             3. The study of effectiveness of the psychological training model for enhancing organizational value of personnel in Sukhothai Thammathirat Open University was found that the experimental group had the organization value scores in follow up higher than post-test and pre-test, and the experimental group had mean organizational value scores higher than the control group.

             4. The personnel had satisfaction to the psychological training model for enhancing organizational value in all issues. They suggested that this training could promote their organization value. They could bring all receiving contents from training to use in their work and it should be arranged for all Sukhothai Thammathirat personnel.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-04-04

How to Cite

วงษ์ทิม ส. (2017). รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 9(1), 1–12. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/82067

Issue

Section

Research Articles