ผลการจัดบริการพยาบาลผ่าตัดตามแนวคิดลีนต่อระยะเวลาการรอคอยและความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก

Authors

  • เสาวลักษณ์ มนูญญา

Keywords:

ระบบบริการพยาบาลโดยใช้แนวคิดลีน, ระยะเวลารอคอย, ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการ, nursing service based on lean concept, waiting time, customer’s satisfaction

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระยะเวลาการรอคอยและความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองภายหลังการใช้แนวคิดลีน ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกที่มารับบริการผ่าตัดเล็กแผนกศัลยกรรม ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดเล็กแผนกศัลยกรรมจำนวน 30 คน ซึ่งได้รับบริการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดเล็กแผนกศัลยกรรมจำนวน 30 คน ซึ่งได้รับบริการพยาบาลโดยใช้แนวคิดลีน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แนวปฏิบัติการจัดบริการผ่าตัดโดยใช้แนวคิดลีน คู่มือการจัดบริการพยาบาลโดยใช้แนวคิดลีน ขั้นตอนการปฏิบัติตัวและขั้นตอนการรับบริการผู้ป่วยผ่าตัดเล็ก แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมการให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดเล็ก และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกปริมาณเวลาที่ใช้ในการให้บริการของผู้ป่วยและแบบสอบถามความพึงพอใจในการบริการของผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัด เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทดสอบค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

        ผลการวิจัย พบว่า

1. ระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดภายหลังการใช้แนวคิดลีนในการจัดบริการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดมีระยะเวลาการรอคอยสั้นกว่าระบบบริการแบบปกติ

2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดก่อนและหลังการใช้แนวคิดลีนในการจัดบริการพยาบาล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดภายหลังการใช้แนวคิดลีน      มีระดับความพึงพอใจสูงกว่าผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบปกติ

 

 

EFFECTS OF PERIOPERATIVE NURSING SERVICE BASED ON LEAN CONCEPTION TO WAITING TIME AND CUSTOMERS’ SATISFACTION DAMNOENSADUAK HOSPITAL

 

Abstract

        The purposes of this quasi-experiment, research were to compare patient’s waiting time and patient’s satisfaction of perioperative nursing service, between control group and experimental group base on lean concept. Research subjects composed of 60 patients of patient’s minor surgery were assigned to experimental and control group of 30 patients each. The research instruments were guideline of perioperative nursing service lean concept, model of perioperative nursing service lean concept, handbook on patient’s guideline and the experimental monitoring checklist. Include research instrument were waiting time monitoring checklist and patient’ satisfaction questionnaires. Content validity were evaluated by a panel of expert. The cronbach’s alpha coefficients of these questionnaires was .98. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test statistics.

        Major findings were the following:

        1. Patient’s waiting time of perioperative nursing service before and after lean concept were significance at a level .05 ,the patient’s waiting time shorter than the before using lean concept program.

        2. Patient’s satisfaction of perioperative nursing service after using lean concept were significance at a level .05 by patient’s satisfaction after using lean concept program.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

มนูญญา เ. (2017). ผลการจัดบริการพยาบาลผ่าตัดตามแนวคิดลีนต่อระยะเวลาการรอคอยและความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 9(1), 72–81. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/94781

Issue

Section

Research Articles