การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์
  • อรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก, การตัดสินใจเชิงจริยธรรม, นักศึกษาพยาบาล, problem-based learning, ethical decision making, nursing students

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ศึกษาพฤติกรรมการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ และศึกษากระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 76 คน ที่เรียนภาคทฤษฎีในรายวิชา จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) แบบวัดความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลเป็นแบบสอบอัตนัยประยุกต์ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก และ 3) แบบสอบถามกระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลหลังการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักสูงกว่าก่อนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) พฤติกรรมการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาพยาบาลโดยรวม ตามความคิดเห็นของตนเอง เพื่อนและผู้สอนอยู่ในระดับดี (\bar{X} =4.26, S.D.=.38; \bar{X} =4.26, S.D.=.19; \bar{X} =3.76, S.D.=.40 ตามลำดับ) และ 3) กระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับดี (\bar{X} =4.26, S.D.=.50) 

 

 

PROBLEM-BASED LEARNING FOSTER ETHICAL DECISION MAKING ABILITY OF NURSING STUDENTS

 

Abstract

           The purposes of this quasi-experimental research were to compare the nursing students’ ethical decision making ability before and after implementing the problem-based learning (PBL) module; to explore their PBL behaviors towards the learning process, and to examine PBL module towards the learning process. The research population consisted of 76 second year nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi. They were studying Nursing Profession Ethics and Laws course in semester 3, academic year 2014. There were 3 data collection tools: 1) Modified Essay Questions (MEQ) for the measurement of nursing students’ ethical decision making ability, 2) PBL behaviors questionnaire, and 3) PBL module questionnaire. The arithmetic mean, standard deviation and paired t-test were the statistics used in the data analysis.

           The findings revealed that 1) the nursing students’ ethical decision making ability after implementing PBL module was higher with a statistical significance level of .001; 2) the overall PBL behaviors through the perceptions of nursing students themselves, colleagues and instructors were at a high level (\bar{X} =4.26, 4.26, and 3.76, respectively); and 3) the overall PBL module was also at a high level (\bar{X} =4.26).

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

สินสวัสดิ์ พ., & สว่างวัฒนเศรษฐ์ อ. (2017). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล. JOURNAL OF THE POLICE NURSES, 9(1), 59–71. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/94780

Issue

Section

Research Articles