Focus and Scope

The Political Science and Public Administration Journal (PSPAJ) is a peer-reviewed journal of the Faculty of Political Science and Public Administration at Chiang Mai University, Thailand. It aims to publish unique and high-quality research and academic papers in the fields of political science, government, international relations, public administration, area studies, and development studies.

Each article undergoes a thorough review process by at least three reviewers through a double-blind peer-review system.

The journal may publish special issues or supplementary issues (not more than two issues per year). Special articles or invited articles that do not require a review for quality by external reviewers may also be considered.

Peer Review Process

ขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกบทความ และการตีพิมพ์

การพิจารณาคัดเลือกบทความ และการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กองบรรณาธิการจะพิจารณากลั่นกรองบทความในเบื้องต้น โดยพิจารณาจากความสอดคล้องของเนื้อหาของบทความกับขอบเขตเนื้อหาของวารสาร ความน่าสนใจ การนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ และความครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาการ และจะพิจารณาความซ้ำซ้อนของบทความโดยการนำบทความเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการผ่านโปรแกรม Turnitin

2. บทความที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากกองบรรณาธิการเบื้องต้น จะถูกนำส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 คน ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 โดยใช้ระบบ Double-blind peer review (ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา)

3. กระบวนการพิจารณาบทความตามข้อ 1) และ 2) จะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบ และหากกระบวนการพิจารณาล่าช้ากว่าที่กำหนด กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบถึงความล่าช้าดังกล่าว

4. ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไข หรือปรับปรุงบทความ ให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ และนำส่งกองบรรณาธิการภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา

5. การตรวจสอบความถูกต้องทางภาษา ของบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และเนื้อหาของบทความ กรณีที่เป็นบทความภาษาอังกฤษ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนนำส่งบทความเข้าสู่ระบบ และตลอดกระบวนการพิจารณาบทความ วารสารมีสิทธิ์ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความในกรณีที่ผู้เขียนไม่ดำเนินการแก้ไขภาษาอังกฤษให้มีความถูกต้องตามข้อเสนอแนะของกองบรรณาธิการ

6. กองบรรณาธิการจะนำบทความที่ผ่านการพิจารณาและแก้ไขแล้ว เข้าสู่กระบวนการเรียงพิมพ์ และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่เบื้องต้นให้ผู้เขียนทราบ

Page Charge Fee

กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีมติการปรับเปลี่ยนนโยบายการลงตีพิมพ์บทความลงในวารสารฯ โดยมีรายละเอียดประกาศดังนี้

  • กำหนดอัตราค่าบริการตีพิมพ์บทความสำหรับบุคคลภายนอกคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความละ 3,500 บาท (US$110, £80, €100/บทความ)
  • คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งดเว้นการเก็บค่าบริการตีพิมพ์

การชำระค่าบริการตีพิมพ์บทความ
1) ผู้ส่งบทความจะต้องชำระค่าธรรมเนียมหลังจากที่ได้รับการตรวจสอบบทความในเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่วารสารฯ จะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบช่องทางการชำระค่าบริการผ่านทางระบบ ThaiJO (วารสารเรียกเก็บค่าบริการเพียง 1 ครั้ง)
2) เมื่อกองบรรณาธิการได้รับหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการส่งบทความของท่านไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารฯ
3) กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินในกรณีดังต่อไปนี้
- บทความไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ และถูกปฏิเสธการตีพิมพ์
- ผู้เขียนมีความประสงค์ขอถอนบทความออกจากกระบวนการพิจารณา

ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า “บทความที่ชำระค่าบริการตีพิมพ์จะได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ลงในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์”

คลิกอ่านประกาศอัตราค่าบริการตีพิมพ์บทความลงวารสารฯ

Publication Frequency

published 2 times a year (January-June and July-December)

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

 

Journal History

วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เดิมชื่อ วารสารรัฐศาสตร์ปริทัศน์ ดำเนินการจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการและแนวคิดทางการเมือง เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกันกับผู้อ่าน ซึ่งถือเป็นหน้าที่ทางวิชาการอีกด้านหนึ่งของสถาบันการศึกษา

ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์” ในปี พ.ศ. 2553 และดำเนินการโดย คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
2. เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศ และรัฐประศาสนศาสตร์

มีรายนามบรรณาธิการ ดังนี้

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ธันยวัฒน์ รัตนสัค (พ.ศ. 2553 - 2556)
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญณัฏฐา อิทธินิติวุฒิ (พ.ศ. 2557 - 2558)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลินี คุ้มสุภา (พ.ศ. 2559 - 2564)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรุตม์ เจริญศรี (ปัจจุบัน)

 

ปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ได้เผยแพร่วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
แบบตีพิมพ์ (Print) และแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) โดยได้เริ่มเผยแพร่วารสารฯ แบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วารสารฯ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560) เป็นต้นมา