ศักยภาพการบริหารการพัฒนาของเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น

Authors

  • บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์ นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

ศักยภาพ, การบริหาร, การพัฒนา, เทศบาลนครขอนแก่น, Potential, Development, Management, Khon Kaen Municipality

Abstract

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1.เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารการพัฒนาของเทศบาลนครขอนแก่น 2.เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการพัฒนาของเทศบาลนครขอนแก่น และ 3.เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารการพัฒนาของเทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบกับ เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก

(In-depth Interview) จากบุคคลากรระดับผู้บังคับบัญชา และผู้นำชุมชน การวิจัยเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling Method) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 177 คน โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Regression Coefficient) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (กริช แรงสูงเนิน, 2554; Hoyle, 1995; Hair, Black and et al., 2005)

ผลจากศึกษาศักยภาพการบริหารการพัฒนาเทศบาลนครขอนแก่นตามโครงสร้างการบริหารเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า คณะผู้บริหารเทศบาลได้จัดตั้งฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจเพื่อใช้เป็นฝ่ายขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญ และมีการใช้นวัตกรรมทางการบริหารที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับของประชาชนพร้อมทั้งมีการขับเคลื่อนนโยบายที่มีสัมฤทธิผล เชิงประจักษ์ และการพัฒนาทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการเทศบาลได้ดำเนินการพัฒนาองค์กรรวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพรวมไปถึงการปฏิบัติงานอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน จากผลการศึกษาผู้วิจัยพบว่า ศักยภาพการบริหารการพัฒนาของเทศบาลนครขอนแก่น โดยการนำไปสู่การปฏิบัติในชุมชนสามารถปฏิบัติได้ในระดับมากที่สุด และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันมากที่สุดใน เชิงบวก

 

THE POTENTIALITY OF MUNICIPAL DEVELOPMENT ADMINISTRATION: A CASE STUDY OF KHON KAEN MUNICIPALITY

The study of the Potentiality of Development Administration: A Case Study of Khon Kaen Municipality used both quantitative and qualitative research methods. In quantitative research, government officers were selected by using cluster random sampling together with multi-stage sampling method. In qualitative research, data were collected using in-depth interviews with the management level.

The results of the study found that the mayor and council members currently used the structure that was formed by the Executive Council and the participation of the public in order to help drive policy. Several important administrative innovations were such as the project of city council, the project of Khon Kaen people were not neglected and other innovative tools that executives introduced and were successful and were accepted by the general public which came the participation of the people as a key driver. Although it does not appear in the chain of command structure, the driven policy showed significant indicators of policy into practice in order to get good results and build the capacity of the City of Khon Kaen. In terms of resource development for management, the municipality developed the organization, including staff development, organizational development and performance as well as the materials used in the operation, which will lead to find problem solutions for people.

The study showed that intensive infrastructure strategy, culture preservation and local wisdom strategy, appropriate transport system development strategy, networking and strong public sector strategy, the community enhancing strategy, natural resources and the environment strategy, development and learning process of public education reform strategy, economic development and investment strategy, the quality of health services and quality of life strategy, the creation of social generosity strategy, potential strategic development organization found that the development of the municipality of Khon Kaen for the community performed at the highest level. The correlation coefficients were in the same direction and had the most positive relationship.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ