แนวทางในการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทาง

Authors

  • กนกลักษณ์ สาธุการ นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

รถประจำทาง, รถโดยสารสาธารณะ, ผู้โดยสารรถประจำทาง, สิทธิผู้โดยสารรถประจำทาง, Bus, Public Bus, Bus Passengers, Bus Passengers’ Rights

Abstract

การศึกษาแนวทางในการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย และประเภทของรถโดยสารประจำทาง รวมทั้งหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง และมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางในประเทศไทยและในต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารของ รถโดยสารประจำทาง ให้ได้แนวทางที่เหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร เพื่อนำมาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันจนนำไปสู่การเสนอกฎหมายฉบับใหม่ที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางได้ครอบคลุม ตั้งแต่สิทธิก่อนเลือกใช้บริการรถโดยสารประจำทาง สิทธิเมื่อตัดสินใจเลือกใช้บริการ และสิทธิภายหลังการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นธรรม โดยเฉพาะในการเยียวยาผู้โดยสารที่ได้รับความเสียหายจากรถโดยสารประจำทาง ทำให้เยียวยาผู้ที่ได้รับ ความเสียหายจากรถโดยสารประจำทางได้ทันที ไม่ล่าช้า และชดเชยความเสียหายได้ใกล้เคียงกับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าจากตำราทางวิชาการ หนังสือ บทความ วารสาร ข้อมูลทางออนไลน์จากระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต งานวิจัย ตัวบทกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ รวมถึงกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงการพรรณนาและวิเคราะห์ควบคู่กันไป

ผลการศึกษาพบว่า การคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางของไทยมีปัญหา ดังนี้

ประการแรก ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ ได้แก่ มาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารประจำทาง มาตรฐานของพนักงานประจำรถโดยสาร ปัญหาการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะคนพิการ เป็นต้น

ประการที่สอง ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางเมื่อตัดสินใจเลือกใช้รถโดยสารประจำทางแล้ว ได้แก่ ปัญหาการคุ้มครองผู้โดยสารในกรณีขอยกเลิกการเดินทางหรือเลื่อนการเดินทาง ปัญหาการไม่ได้รับบริการตามที่พรรณนาไว้ในการให้บริการ เป็นต้น

ประการที่สาม ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางภายหลังการเกิดสัญญาบริการ ได้แก่ ปัญหาการได้รับการเยียวยาและชดใช้ค่าเสียหายที่ล่าช้า ไม่เป็นธรรม และไม่เพียงพอ กรณีถูกละเมิดหรือเมื่อประสบภัยจากการโดยสารรถประจำทาง การขาดองค์กรที่มีตัวแทนของผู้โดยสารในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการ และปัญหาการเยียวยาผู้โดยสารที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ล่าช้าและไม่เป็นธรรมเท่าที่ควร

ดังนั้น เมื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสารรถโดยสารประจำทางทุกฉบับที่มีอยู่ขณะนี้ พบว่า ให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารรถประจำทางยังไม่ครอบคลุม และเยียวยาผู้โดยสารได้รับความเสียหายจากการโดยสารรถประจำทางได้ไม่เพียงพอ จึงเห็นควรตรากฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร รถประจำทางขึ้นเป็นการเฉพาะ

 

Guidelines for Developing the Legal Measures Concerning the Protection of Bus Passengers’ Rights

The purposes of this study were to identify the meaning of the bus, types of the bus including the principles, concepts and theories of the protection of bus passengers’ rights and the relevant legal measures concerning the protection of bus passengers’ rights in Thailand, including foreign legal measures concerning the protection of bus passengers’ rights such as European Union, United Kingdom, Australia and China. In addition, legal problem analysis of the protection of bus passengers’ rights was the purpose of this study to attain guidelines for developing the legal measures concerning the protection of bus passengers’ rights leading to enactment of new laws being efficient, effective and fair. This study was the documentary research searched from the textbooks, articles, journals, online database ,research, laws and jurisprudences, including foreign laws in description and analytical method partly.

The results of this study are as follows:

First, the problems concerning the protection of bus passengers’ rights before deciding to get the bus transportation service were bus safety standard, bus personnel standard, disability discrimination, etc.

Secondly, the problems concerning the protection of bus passengers’ rights after deciding the bus transportation service were the bus passengers’ rights to cancel or postpone their travel, no services according to transport contract, etc.

Thirdly, the problems concerning the protection of bus passengers’ rights after service contract had been made were no organization representing bus passengers to file a complaint about the service and problems concerning remedy and compensation for the bus accident and damages to the passengers in a fair and just manner.

After having studied the relevant laws the author had found that the present laws could not solve the bus passengers’ problems, so the legal measures concerning the protection of bus passengers ‘rights should be enacted specially.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ