การงานส่งเสริมป้องกัน และรักษาทันตสุขภาพนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอสอง จังหวัดแพร่

Main Article Content

Wilawan Chanchorn

Abstract

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: ปัญหาโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่อำเภอสองมามากกว่า 10 ปี ซึ่งกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลสอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย ได้มีการดำเนินงานดูแลทันตสุขภาพนักเรียนชั้นประถมศึกษาตามนโยบายมาอย่างต่อเนื่องแต่ปัญหายังไม่ลดลง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบูรณาการงานส่งเสริม ป้องกัน และรักษาทันตสุขภาพนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จำนวน 30 โรงเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 ถึงปีการศึกษา2558

วัสดุและวิธีการ: แนวคิดและ กิจกรรม ที่ใช้ในการบูรณาการในการศึกษาประกอบด้วยกระบวนการ EAP (Experiential Activity Planner), แนวคิด Whole School Approach หรือการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ, กลยุทธ์ตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter).และการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ (school model) มาใช้ในการพัฒนางานส่งเสริมทันตสุขภาพซึ่งได้แก่ โรงเรียนคู่หูดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง และโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร นอกจากนี้ยังได้นำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการเคลือบหลุมร่องฟันทั้งเครือข่ายบริการ และจัดบริการ Preventive Resin Restoration ครอบคลุมนักเรียนทุกคนตามความจำเป็น มาใช้ในการพัฒนางานทันตกรรมป้องกัน ด้านการรักษาเน้นการมีส่วนร่วมของทางโรงเรียน และจัดบริการครอบคลุมนักเรียนทุกคน

ผลการศึกษา: พบว่าโรงเรียน 18 แห่ง เป็นสมาชิกเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี, โรงเรียนทั้ง 30 แห่งผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง โรงเรียน 1 แห่งผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปราศจากฟันแท้ผุ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.44 เป็นร้อยละ 61.40 มีการแปรงฟันก่อนนอนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.20 เป็นร้อยละ 42.40 รับประทานลูกอมลดลง แต่การดื่มน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2556

สรุป: ผลการบูรณาการงานส่งเสริม ป้องกันและ รักษาทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 ถึงปีการศึกษา 2558 ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปราศจากฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น รับประทานลูกอมลดลง แต่พฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม และการรับประทานขนมกรุบกรอบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีการแปรงฟันก่อนนอนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ฉะนั้นควรขยายงานส่งเสริมทันตสุขภาพลงสู่ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น 

Abstract


Background: High dental caries prevalence rate in primary school children has been a serious problem in Song district for over 10 years, still the problem is persisted.

Objective: To assess the result of EAP (Experiential Activity Planner), Whole School Approach, Ottawa Charter and school model for oral health promotion program integration in improving the health and well-being of students and their academic achievement.

Materials and method: Using EAP (Experiential Activity Planner), Whole School Approach, Ottawa Charter and school model for oral health promotion development; those are companion schools, healthy teeth school network, gold level health promoting school, and diamond level health promoting school.Using dental sealant quality improvement and providing prevention resin restoration for oral health prevention development. Emphasizing on school participation and providing dental treatment for all school children in order to develop the oral health treatment.

Results: 18 out of 30 schools (60 percent) participated in the healthy teeth schools network. All schools had been achieved gold level health promotion school, a school had been achieved diamond level health promotion school. Caries free among the 6th grade students had been increasing from 41.44percent to 61.40 percent and tooth brushing behavior before bedtime had been increasing from 27.20percent to 42.40percent continually. Whereas, candy consumption had been reduced but snack and soft drink consumption had been slightly increased. Additionally, the dental sealant retention rate on first molar teeth of the 1st grade students has consistently been over 80% since the academic year 2013.

Conclusion: The results of the integration of oral health promotion, prevention and treatment in Song district, Phrae province from the academic year 2010 to 2015. showed that Caries free  among the 6th grade students has increased as well as candy consumption has reduced. But snack and soft drink consumption behaviors tended to increase. Tooth brushing before bedtime has slightly increased. So the oral health promotion program should be extended to families and communities widely, as the suggestion.

 

 

 

Article Details

Section
Special article