สำรวจความรู้ของบุคลกรทางการแพทย์สำหรับดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อรอนงค์ เจียรสุจิตวิมล
ศศิโสภิต แพงศรี
ยศพล เหลืองโสมนภา

Abstract

ที่มาของปัญหา: ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากขึ้น จัดเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายและอัตราการเสียชีวิตสูง โรคไตเรื้อรังสามารถป้องกัน ชะลอการเสื่อมของไต ตลอดจนการดูแลรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพ (service plan) ของรัฐบาลที่ส่งเสริมการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรัง

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในจังหวัดจันทบุรี

วัสดุและวิธีการ: การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักโภชนากรในโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 11 แห่ง ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 238 คน เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง มีค่าความตรงของแบบสอบถาม 0.98 และค่าความเที่ยง คำนวณค่าคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson: KR20) ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.839 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ระหว่างโรงพยาบาลศูนย์ กับโรงพยาบาลชุมชน โดยใช้สถิติ Independent t-test และเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์แต่ละวิชาชีพ โดยใช้สถิติ F-test

ผลการศึกษา: พบว่า บุคลากรทางการแพทย์มีคะแนนความรู้เฉลี่ย 14 คะแนนจาก 21 คะแนน โดยมีคะแนนความรู้มากกว่าร้อยละ 80 เพียง ร้อยละ 27.3 ของบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด จากผลการศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ กับโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดจันทบุรี พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่แตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคไตเรื้อรัง ระหว่างบุคลากรแต่ละวิชาชีพ พบว่า แพทย์ พยาบาล เภสัชกร โภชนากร มีความรู้ไม่แตกต่างกัน

สรุป: จากผลการศึกษาในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2) ควรมีการดำเนินการจัดการอบรมหรือสัมมนาเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และมีการจัดอบรมให้ความรู้แยกตามกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ในองค์ความรู้ที่ยังขาดในแต่ละกลุ่มให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในจังหวัดจันทบุรี

Knowledge for Caring of Patients with Chronic Kidney Diseases in Healthcare Personnel in Chanthaburi Province.

Abstract

Background: An increase in some patients with chronic kidney diseases (CKD) has become an urgent problem at the national level as a result of its high mortality rate as well as the expensive cost of care and treatment including renal replace­ment therapy, which may be necessary in many cases. However, deterioration of the kidney function can be delayed or even prevented. The healthcare personnel is, therefore, having vital roles in providing health care in these patients especially with the establishment of the CKD clinics according to the government service plan.

Objective: To assess the background knowledge in healthcare personnel involving in the care of patients with CKD in Chanthaburi province.

Materials and Method: This descriptive study was performed in a hospital center and 11 district hospitals in Chanthaburi province between March and May 2015. 238 health care personnel includ­ing doctors, nurses, pharmacists and nutritionists participated in our study. Each person had to complete 1) a demographic data questionnaire and 2) a CKD knowledge test (validity 0.84). We use independent t-test for analysis the comparison of background knowledge between healthcare personnel in hospital center and district hospital, and use F-test for analyzing among subgroup of healthcare personnel

Results: This study showed that healthcare personnel had average knowledge score 14 points (from total score 21 points. Additionally, only 27.3% of them had knowledge score more than 80 points. Background knowledge between healthcare personnel in hospital center and district hospital was not a significant difference. Moreover, it did not significantly differ among the subgroup of the healthcare staff.

Conclusion: As the result of this study revealed, we would like to propose our suggestions as followed 1) healthcare personnel who involve in caring for CKD patients should increase their knowledge on CKD so as to improve the quality of care and to comply with the government service plan 2) there should be training days or a seminars depending on their baseline knowledge and potency for the healthcare personnel in Chanthaburi province.


Article Details

Section
Original Article