รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประสานการส่งต่อ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ยุพเยาว์ วิศพรรณ์
บัญชา พร้อมดิษฐ์
พรทิพย์ สุขอดิศัย

Abstract

ที่มาและความสำคัญ: กระทรวงสาธารณสุขมีการจัดระบบบริการสุขภาพที่แตกต่างกันในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบส่งต่อ ภายใต้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ” โดยมีศูนย์ประสานการส่งต่อ (referral coordination center) ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ทำหน้าที่ในการประสานงาน ติดตาม และรายงานผลการส่งต่อผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลในจังหวัด ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มการส่งต่อผู้ป่วยได้เพิ่มสูงขึ้น และมีปัญหาเกิดขึ้นในหลายด้าน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึงสถานการณ์การบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาศูนย์ประสานการส่งต่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประสานการส่งต่อจังหวัดจันทบุรี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มเป้าหมายมี 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์ประสานการส่งต่อ 1 คน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 11 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ประสานการส่งต่อ 2 คน และในโรงพยาบาลชุมชน 11 คน รวม 13 คน ใช้การสนทนากลุ่ม 3) กลุ่มผู้รับบริการส่งต่อ 4 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างตามแนวทาง 4 M คือ การบริหารจัดการ (management) บุคลากร (man) วัสดุอุปกรณ์ (material) และงบประมาณ (money) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา: พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์ประสานการส่งต่อ และโรงพยาบาลชุมชนมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ มีสายการบังคับบัญชา มีเป้าหมาย/แนวทาง/ขั้นตอนปฏิบัติงาน แต่โครงสร้างไม่ชัดเจน ไม่มีกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการเฉพาะ ใช้เครื่องมือส่งต่อที่ซ้ำซ้อน ขาดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ใช้เงินบำรุงที่ไม่ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ มีพยาบาลวิชาชีพในเวรเช้าแต่ยังไม่เพียงพอ ไม่มีการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ขาดการสร้างขวัญและกำลังใจ และใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกับงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน 2) รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ประสานการส่งต่อที่ควรพัฒนา มี 2 รูปแบบ (TS model) คือ Tertiary level of coordination referral center model; T model 2) Secondary level of coordination referral center model; S model

สรุป: การบริหารจัดการศูนย์ประสานการส่งต่อจังหวัดจันทบุรี ต้องมีการพัฒนาในหลายประการทั้งในด้านการบริหารจัดการ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณตาม 2 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้



Referral Coordination Management Model Chanthaburi Province

Background: Ministry of Public Health arranges the service health system into 3 levels, primary care, secondary care and tertiary care that was connected by referral system. For Implementation, Referral Coordination Center: (RCC) was established in Prapokklao hospital in 2010 in order to coordinate referral system in all level, especially secondary levels. Otherwise there have still been many serious problems, up till now.

Objectives: To study and develop the management model of referral coordination center in Chanthaburi provincial.

Materials and Method: This study was a qualitative research. The samples were divided into 3 groups. The first group consists of 1 executive of referral coordination center and 11 directors of community hospital. The second group consists of 13 operational personnel in referral coordination center. The third group consists of 4 patients. The instrument is semi-structured questionnaires that used 4M concept, data were collected by using in-depth interviews, a focus group interviews and documentary review. Content analysis was analyzed.

Results: The study found that; 1. Referral Coordination Centers (RCC) and community hospital has a similarity management pattern, as follow:

1) Chain command, target goals and process management have found clearly and unity, but there were not unclear with target structure, strategies even finance management in contrast. The budget of RCC from hospital subsidy has no projects support. There is a full-time nurse who operated only 08.30-16.30. The executive has not buildedemployee morale process. All material join with emergency accident department but it isn’t enough to work.

2) The Management model of reasonable, have 2 figures (TS model) 1) Tertiary Level of Coordination Referral Center Model: T Model 2) Secondary Level of Coordination Referral Center Model: S Model.

Conclusion: The Management of Referral Coordination Center in Chanthaburi province has to be developed using TS model.

 

 

Article Details

Section
Original Article