ผลกระทบจากการเลี้ยงปลาในกระชังต่อคุณภาพน้ำในลำน้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • นฤมล นาคมี สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • อาวีระ ภัคมาตร สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • พิสิษฐ์ ศรีกัลยานิวาท สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • เดชา งามนิกุลชลิน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • อนุภาพ ทิพย์นพคุณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุขสมาน สังโยคะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

เลี้ยงปลาในกระชัง, ผลกระทบ, คุณภาพน้ำ, แม่น้ำน่าน, fish in cage, environmental impact, water quality, Nan river

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงปลาใน กระชังบริเวณลำน้ำน่าน เขตจังหวัดพิษณุโลก จากจุดเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 4 สถานี ประกอบด้วย 1) ฟาร์ม ขนาดพื้นที่เลี้ยงปลามากกว่า 1,000 ตารางเมตร เหนือเขื่อนนเรศวร ตั้งอยู่บริเวณ ม.11 ต.วงฆ้อง อ.พรหม พิราม 2) ฟาร์มขนาดพื้นที่เลี้ยงปลาน้อยกว่า 500 ตารางเมตร เหนือเขื่อนนเรศวร ตั้งอยู่บริเวณ ม.6 ต.วง ฆ้อง อ.พรหมพิราม 3) ฟาร์มขนาดพื้นที่เลี้ยงปลาน้อยกว่า 500 ตารางเมตร ใต้เขื่อนนเรศวร ตั้งอยู่บริเวณ หน้าวัดท่าตะเคียน ม.3 ต.จอมทอง อ.เมือง และ 4) ฟาร์มขนาดพื้นที่เลี้ยงปลามากกว่า 1,000 ตารางเมตร ใต้เขื่อนนเรศวร ตั้งอยู่บริเวณ ม.1 บ้านหัวแหลม ต.บ้านไร่ อ.บางกระทุ่ม การศึกษาทำในช่วงระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 โดยเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายใน น้ำ(DO) ความเป็นกรด-ด่าง(pH) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด(TDS) ออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อย สลายสารอินทรีย์(BOD) ฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(FCB) และแอมโมเนีย–ไนโตนเจน(NH3-N) ที่ระยะห่าง จากกระชัง -3 0 3 25 และ 50 เมตร ตามลำดับ ผลจากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงปลาในกระชังส่งผล กระทบต่อคุณภาพน้ำในลำน้ำน่าน ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

คำสำคัญ : เลี้ยงปลาในกระชัง, ผลกระทบ, คุณภาพน้ำ, แม่น้ำน่าน

 

Abstract

The purpose of this research was to study effects of fish cage farming on water quality of Nan river in Phitsanulok province. Water samples were collected from four stations ; 1) Moo.11 Wongkong sub-district, Prompiram distric (area more than 1000 m2) 2) Moo.6 Wongkong sub-district, Prompiram distric (area less than 500 m2) 3) the front of Thatakien temple, Moo.3 Jomtong sub-district, Meung distric (area more than 1000 m2) and 4) Moo.1 Jualam Banrai district-subdistrict, Bangkratoom district (area less than 500 m2) during February - September 2009. The sampling points were collected at -3, 0, 3, 25 and 50 meters from the cage. All samples were analyzed in order to study physical, chemical and biological characteristics of water quality, nanely; Dissolved Oxygen(DO), pH, Total Dissolved Solids (TDS), Biochemical Oxygen Demand (BOD), Fecal Coliform Bacteria(FCB) and Ammonia–Nitrogen (NH3-N). The results showed that fish caged fish farming affected water quality by DO, BOD and FCB.

Keyword : fish in cage, environmental impact, water quality, Nan river

Downloads

How to Cite

นาคมี น., ภัคมาตร อ., ศรีกัลยานิวาท พ., งามนิกุลชลิน เ., ทิพย์นพคุณ อ., & สังโยคะ ส. (2014). ผลกระทบจากการเลี้ยงปลาในกระชังต่อคุณภาพน้ำในลำน้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 18–31. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17016

Issue

Section

บทความวิชาการ