ประสบการณ์ของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน

Authors

  • โรชินี อุปรา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่
  • ชลธิชา เรือนคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่
  • เจนนารา วงศ์ปาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่
  • เอกชัย กันธะวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่

Keywords:

ประสบการณ์, ผู้ให้การดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, บทบาท, ภาระ, ความต้องการ, stroke, caregiver, care giving, experiences

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทภาระ และความต้องการของผู้ที่ให้การดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงลึก (In dept Interview) ในผู้ดูแล ผู้ป่วยที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเป็นเวลาอย่างต่ำ 1 ปี จำนวน 10 ราย เป็นหญิง 6 ราย ชาย 4 ราย ผู้ดูแล 7 รายเป็นบุตรของผู้ป่วย และ 3 รายเป็นคู่ครอง การสัมภาษณ์แต่ละครั้งใช้เวลา ประมาณ 45 นาที ถึงหนึ่งชั่วโมง และ ความถี่ในการสัมภาษณ์โดยเฉลี่ยรายละ 3 ครั้ง ข้อมูลที่เป็นข้อความ ที่แสดงออกถึงบทบาท และภาระหน้าที่ กิจกรรมในการดูแลผู้ป่วย ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนความรู้สึก นึกคิด และ ความต้องการของผู้ดูแลได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยการนำเนื้อหาของข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่ สรุป และ นำเสนอในเชิงคุณภาพ

การวิจัยพบว่า ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านมี2 บทบาทหลักคือบทบาทในการ เป็นผู้ให้การดูแล และผู้ช่วยเหลือ โดยเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้ป่วยในด้านการจัดหาสิ่งของและบริการ ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน (ADL: Activity of daily living) ให้การสนับสนุนในด้านสังคม และให้การ สนับสนุนในเรื่องของจิตใจ ส่วนภาระในการดูแลที่เกิดขึ้นจากการดูแลสมารถแบ่งได้ในเชิงรูปธรรม และ นามธรรม ในรูปธรรมเช่นภาวะเศรษฐกิจ การพักผ่อนและสุขภาพร่างกาย การขาดการสังสรรค์กับเพื่อน บ้านหรือบุคคลใกล้ชิด ความขัดแย้งในครอบครัว ส่วนในรูปแบบนามธรรมสามารถแบ่งออกได้เป็นแง่บวก และแง่ลบ แง่บวกเช่น ความภูมิใจที่ได้ดูแลบิดา มารดา ส่วนแง่ลบเช่นความรู้สึกกดดัน เบื่อหน่าย ในแง่ของ ความต้องการผู้ดูแลมีความต้องการข้อมูลในการดูแล และการให้บริการที่ต่อเนื่อง

ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระบบการสนับสนุน และให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อลดภาระผู้ดูแลตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง อีกทั้งสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

คำสำคัญ : ประสบการณ์, ผู้ให้การดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, บทบาท, ภาระ, ความต้องการ

 

Abstract

The objective of this qualitative study is to find out about stroke family caregivers experience in providing care to stroke survivors at home regarding their role, burden and needs. In-depth Interview were main approach employed in order to find out about stroke family caregivers experience. The sample were stroke family caregivers who had been providing care to stroke survivors at home continuously for at least one year. Ten stroke family caregivers were interviewed of who were six female and four male. Seven of them were stroke survivors’ children and three were their spouse. Each interview lasted from 45 minute to one hour, frequency of time being interview were atleast three times for each caregivers. Data relevant to caregiving role burden and needs were analyzed, grouped and major theme were presented.

The results of the study revealed that the family caregivers had two majors role in providing care which was care manager and care provider. They mainly help in activities of daily living (ADL) and provide social and mental support. Burden were categorized into two categories which were objective burden and subjective burden, for example economics problems, health status, resting time, lack of leisure time and family conflict were considered as objective burden. Subjective burden were been categorizes into positive and negative burden. Positive burden were burden which make they feel faithful to care for their loved ones, and negative burden were frustration and burnout. Regarding need, all family caregivers need more information and social support such as continuity of care.

Results from this study could be taken forward to support or develop home health care for stroke patients at home as well as provide more relevant information to reduce burden on family caregivers. In addition results from this study, can also be used in nursing studies

Keywords : stroke, caregiver, care giving, experiences

Downloads

How to Cite

อุปรา โ., เรือนคำ ช., วงศ์ปาลี เ., & กันธะวงศ์ เ. (2014). ประสบการณ์ของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 50–59. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17021

Issue

Section

บทความวิชาการ