สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Authors

  • กรรณิการ์ บุตรเอก
  • สุวิมล แก้วเงา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปิยะดา วชิระวงศกร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

ขยะมูลฝอย, การจัดการขยะมูลฝอย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, Solid waste, Solid waste management, Pibulsongkarm Rajabhat University

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอย ระบบการจัดการ ขยะมูลฝอยปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และการมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะมูลฝอยของประชาชนใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาพบว่า ขยะมูลฝอย ทั้งหมดมีปริมาณเฉลี่ย 684.85 กิโลกรัม/วัน โดยหอพักนักศึกษาทะเลแก้วนิเวศมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นมาก ที่สุดเฉลี่ย 168.20 กิโลกรัม/วัน สำหรับองค์ประกอบขยะ มูลฝอยที่พบมากที่สุด คือ ขยะอินทรีย์ มีปริมาณ เฉลี่ย 293.07 กิโลกรัม/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 42.79 รองลงมา ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะติดเชื้อ และขยะอันตราย คิดเป็นร้อยละ 37.55, 15.15, 3.41 และ 1.10 ตามลำดับ สำหรับระบบการเก็บรวบรวม ขยะมูลฝอยจะใช้ระบบถังใบเดียวในการรองรับขยะมูลฝอยจึงทำให้ไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนนำไป กำจัด แต่ได้มีการแยกขยะรีไซเคิลภายในตัวอาคารก่อนรวบรวมนำไปกำจัดทิ้ง ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมี ผลมาจากขาดประสิทธิภาพในการจัดการทั้งในเรื่องของปริมาณและคุณภาพถังรองรับขยะ การเก็บรวบรวม และการกำจัดขยะ สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการลดปัญหาขยะมูลฝอย พบว่าประชาชนส่วน ใหญ่อยากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะในมหาวิทยาลัยฯ คิดเป็นร้อยละ 92.2 และเห็นด้วยกับการนำขยะ ที่เคยใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งและการใช้ของใช้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติจะช่วยลดปริมาณขยะมูล ฝอยที่ย่อยสลายยาก คิดเป็นร้อยละ 91.2 และ 91.0 ตามลำดับ

คำสำคัญ : ขยะมูลฝอย, การจัดการขยะมูลฝอย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

 

Abstract

The objectives of this study were to study on existing solid waste quantity and composition, solid waste management system, solid waste management problems and public participation in solid waste reduction at Pibulsongkram Rajabhat University (Ta Lae Keaw), Phitsanulok Province. The results showed that the total solid waste generate per day was 684.85 Kg. The solid waste was mostly found in Talaekaewniwes dormitory, 168.20 Kg./day. The composition of solid waste contained the highest amount of organic waste, 293.07 Kg./day (42.79%), followed by general waste, recycling waste, infection waste and hazardous waste which were 37.55%, 15.15%, 3.41% and 1.10% respectively. One can system is used for solid waste collection which could cause of unsegregated wastes before disposal. However, some recycling wastes were segregated collection prior disposal for each building. The solid waste problems were caused by lack of efficient for the management of trash cans, collection and disposal. For public participation in solid waste management, most people want to participate in solving solid waste problems in the university, (> 92.2%). Most people agree that some types of solid waste reusing is resource utilization, (91.2%) and using of products made from materials has more decrease amount of non-biodegradable waste, (91.0%).

Keyword : Solid waste, Solid waste management, Pibulsongkarm Rajabhat University

Downloads

How to Cite

บุตรเอก ก., แก้วเงา ส., & วชิระวงศกร ป. (2014). สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 74–90. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17025

Issue

Section

บทความวิชาการ