ทางเลือกในการกำจัดทำลายขยะมูลฝอยที่เหลือจากการคัดแยกขององค์การบริหาร ส่วนตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Authors

  • บุษบา หินเธาว์ สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ หน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ประกรณ์ เลิศสุวรรณไพศาล สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

ขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอย การคัดแยกมูลฝอย, waste, waste disposal, waste separation

Abstract

บทคัดย่อ

องค์การบริหารส่วนตำบลสักหลงเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง มีเนื้อที่ทั้งหมด 18.5 ตาราง กิโลเมตร ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 5,653 คน ในด้านการจัดการขยะปัจจุบันได้จัดภาชนะ รองรับขยะมูลฝอยไว้บริการประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน 11 หมู่บ้าน มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยขนาด 100 ลิตร จำนวน 500 ถัง โดยจะมีการเก็บขนขยะมูลฝอยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้จะถูกนำมา กำจัดโดยวิธีเทกองบนพื้น (Open Dumping) แล้วดันลงหลุมที่ทำการขุดไว้ บริเวณ หมู่ที่ 6 บ้านห้วยโปร่งซึ่งเป็น ที่ดินสาธารณะประโยชน์ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลสักหลง ได้ขอกันพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์ ปัจจุบันใช้เนื้อที่ใน การกำจัดขยะมูลฝอย ประมาณ 1 ไร่ เมื่อทำการตรวจวัดหาค่าความหนาแน่นของขยะมูลฝอยพบมีค่าความ หนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 162.86 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตรมีปริมาณขยะ 4.04 ตัน/วัน โดยมีองค์ประกอบของ เศษอาหารผักผลไม้มากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 38.28 รองลงมา ได้แก่ พลาสติกและโฟม เฉลี่ยร้อยละ 24.83 กระดาษ เฉลี่ยร้อยละ 9.26 หินกระเบื้องเฉลี่ยร้อยละ 6.42 โลหะเฉลี่ยร้อยละ 5.09 และสิ่งทอเฉลี่ยร้อยละ 4.72 ในการ ออกแบบทางเลือกสำหรับกำจัดขยะมูลฝอย ได้คาดการณ์จำนวนประชากรของ องค์การบริหารส่วนตำบลสักหลง อีก 20 ปีข้างหน้า คือตั้งแต่ปี 2552 – 2572 พบว่าในปี 2572 จะมีประชากร 19,160 คน มีปริมาณขยะรวมทั้งสิ้น 52,386 ตัน แบ่งเป็นขยะมูลฝอยรีไซเคิลได้ 10,477 ตัน (20%) ขยะมูลฝอยทำปุ๋ยหมักได้ 20,053 ตัน (38.28%) และขยะมูลฝอยสำหรับฝังกลบ 21,855 ตัน (41.72%) ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนำมากำหนดทางเลือกในการ ออกแบบ 3 แนวทางเลือกได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบอย่างเดียว จะต้องใช้พื้นที่ในการดำเนินโครงการ 25 ไร่ ใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 62,006,890 บาท การกำจัดขยะมูลฝอยแบบมีระบบคัด แยกร่วมกับระบบฝังกลบ จะต้องใช้พื้นที่ในการดำเนินโครงการ 23 ไร่ใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 68,106,647 บาท และหากการกำจัดขยะมูลฝอยแบบมีระบบคัดแยกร่วมกับระบบหมักขยะมูลฝอยแบบ เชิงกลชีวภาพ Effective Microorganisms - Biological Waste Treatment (EMBT) และร่วมกับระบบผังกลบ จะต้องใช้พื้นที่ในการดำเนินโครงการ 19 ไร่ ใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 105,961,501 บาท

คำสำคัญ : ขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอย การคัดแยกมูลฝอย

 

Abstract

Saklong Subdistrict Administrative Organization is a medium -sized organization covering on 18.5 km2 of land consisting of 11 villages with a population of 5,653. At present, the organization provides the 500 waste containers with a capacity of 100 liters per container all 11 villages. The waste was colleced once a week and disposed at the open dumping site at Moo 6 Ban Huai Pong, the public utilization area of Saklong Subdistrict Administrative Organization. This public utilization area covers 1 rai of land performing the waste disposal activity. The result from monitoring found that the average bulk density was 162.86 kg./m3.The waste composition were food waste (vegetable and fruit) at about 38.28% followed by plastic and foam, paper, ceramic, metal, and textile at about 24.83%, 9.26%, 6.42%, 5.09%, and 4.72% respectively.

The disposal selection model was calculated on the next 20 years of population in Saklong Subdistrict Administrative Organization (2009-2029) and found that the population will be 19,160 in 2029 that will generate 52,386 tons of waste which consist 10,477 tons of recyclable waste (20 %) 20,053 tons of compostable waste (38.28%) 21,855 tons of disposed waste (41.72 %).The previous information was analyzed and showes 3 selection models 1.) Waste disposal by landfill should be operated on 25 rais with the construction cost about 62,006,890 baht 2.) Waste disposal by waste separation and landfill should be operated on 23 rais with the construction cost about 68,106,647 baht and 3.)Waste disposal by waste separation, EMBT, and landfill should be operated on 19 rais with the construction cost about 105,961,501 baht.

Keyword : waste, waste disposal, waste separation

Downloads

How to Cite

หินเธาว์ บ., วัฒนชัยยิ่งเจริญ เ., & เลิศสุวรรณไพศาล ป. (2014). ทางเลือกในการกำจัดทำลายขยะมูลฝอยที่เหลือจากการคัดแยกขององค์การบริหาร ส่วนตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. Life Sciences and Environment Journal, 12(2), 102–111. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17031

Issue

Section

บทความวิชาการ