ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ประสบอุทกภัย : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลชุมแสง (วัดทับกฤชกลาง) จังหวัดนครสวรรค์

Authors

  • วีณา ทองรอด สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุภาพ ฉัตราภรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ประสบอุทกภัย2) พฤติกรรมการกินอาหาร การปฏิบัติตน และภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนในช่วงประสบอุทกภัย 3) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ประสบอุทกภัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 200 คน สุ่มเลือกจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนอนุบาลชุมแสง (วัดทับกฤชกลาง) จังหวัดนครสวรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยเด็กวัยเรียนเพศชายร้อยละ 51.5 เพศหญิงร้อยละ 48.5บิดาและมารดากึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 38.0 มีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน เด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 70.5 มีภาวะโภชนาการปกติ ในช่วงประสบอุทกภัยมีการบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่ ในระดับบางครั้ง และเกือบทุกคนบริโภคอาหารที่ทำเองที่บ้านเป็นประจำทุกวัน การปฏิบัติตนและภาวะสุขภาพร่างกาย-จิตใจที่เกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วมเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตนในระดับบางครั้ง และไม่มีอาการภาวะสุขภาพต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วงประสบอุทกภัย

การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ รายได้ของผู้ปกครอง ปัญหาที่ประสบอุทกภัยด้านโรงเรียน/สถานศึกษาและการเรียน การปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตในช่วงประสบอุทกภัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The research was designed to study: 1) nutritional status of school children in a flooding area,2) dietary behavior, hygiene practice and health status of school children during a flooding period, and 3)factors related to nutritional status and dietary behavior of school children. The sampling group comprised200 subjects randomly selected from Grade 4-6 students of Anubarn Chumsaeng (Wat Thapkritklang) School,Nakornsawan province. Statistical analyses comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation andchi-square test.

Research findings showed that the school children sample were composed of 51.5% boys and 48.5%girls. Almost half of their parents had graduated at secondary school and 38 % had monthly income lowerthan 3,000 baht. Most of the students (70.5%) had their nutritional status within the normal range. Regardingdietary behavior during flooding periods, five food groups were consumed occasionally and home-cookedmeals were consumed everyday. Most of the students’ hygiene practice during flooding periods were atmoderate level and they did not show any physical or mental symptoms during flooding periods.

Family income, flooding problems relating to school and hygiene practice during flooding periodswere found to significantly correlate significantly with dietary behavior of school children at .05 level.

Downloads

How to Cite

ทองรอด ว., ลิ้มสุวรรณ ท., & ฉัตราภรณ์ ส. (2014). ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ประสบอุทกภัย : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลชุมแสง (วัดทับกฤชกลาง) จังหวัดนครสวรรค์. Life Sciences and Environment Journal, 10(1-2), 22–33. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17049

Issue

Section

บทความวิชาการ