การศึกษาผลกระทบด้านเสียงจากการจราจรโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

Authors

  • ธันวดี ศรีธาวิรัตน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก 65000

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความดังของเสียงจากการจราจรในเขต อ.เมืองจ.พิษณุโลก โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งศึกษาผลกระทบของมลพิษทางเสียงโดยใช้แบบจำ ลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีพื้นที่การศึกษา 5 พื้นที่ ได้แก่ ถนนสิงหวัฒน์ ถนนนเรศวร ทางหลวงหมายเลข 12ถนนบรมไตรโลกนาถ และถนนสนามบิน โดยแต่ละพื้นที่ทำการตรวจวัดระดับเสียงเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 07.30 -08.30 น. พบว่า ถนนสนามบินมีระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่งโมงสูงสุด โดยมีค่าเท่ากับ 89.56 -90.14 dBA รองลงมาคือ ถนนสิงหวัฒน์ มีค่าเท่ากับ 82.20 - 89.48 dBA ทางหลวงหมายเลข 12 มีระดับเสียงอยู่ในช่วง 78.92 - 79.87 dBA ถนนนเรศวรมีระดับเสียงอยู่ในช่วง 78.87 - 78.94 dBA และถนนบรมไตรโลกนาถ มีระดับเสียงอยู่ในช่วง 77.23 - 78.09 dBA ตามลำดับ

การศึกษาผลกระทบจากระดับความดังเสียงโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ระดับเสียงจากการจราจรทางราบ เวอร์ชั่น 1.20 (NMTHAI 1.20) ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พบว่า ในพื้นที่ตรวจวัดมีระดับเสียงไม่เกิน 115 dBA ซึ่งระดับเสียงที่อยู่ในช่วง 80-85dBA พบในบริเวณจุดกลางถนนในช่วง 1-5 เมตร ส่วนในพื้นที่ที่ห่างจากจุดกลางถนนส่วนใหญ่มีระดับเสียงไม่เกิน 80 dBA ซึ่งเป็นระดับเสียงที่ปลอดภัยจากผลกระทบทางเสียง ที่เสนอแนะไว้โดยองค์การอนามัยโลก

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study on noise problems on main roads in Phitsanulok and tocompare with standard of noise and also to study on traffic noise pollution by using a mathematical model(NMTHAI 1.20). Locations of the study were (i) Singhawat road (ii) Naresuan road (iii) Highway no.12 (iv)Baromtrilokanart road and (v) Sanambin road. A Leq(1) technique was measured at 7.30-8.30 am. Theresults showed that the highest of sound level was traffics at Sanambin road (89.56 - 90.14 dBA). The soundlevels of Singhawat, Highway no.12, Naresuan, and Baromtrilokanart road were presented 82.20 - 89.48,78.92 - 79.87, 78.87 - 78.94 and 77.23 - 78.09 dBA, respectively.

The study on traffic noise pollution by using mathematical model showed that the sound levels of allsites were less than 115 dBA. The peak level (80-85 dBA) was found at 1-5 meter from the middle of thesound line. The sound levels of other areas were below 80 dBA. These levels were under standard ofannoyance noise (80 dBA) recommended by World Health Organization.

Downloads

How to Cite

ศรีธาวิรัตน์ ธ. (2014). การศึกษาผลกระทบด้านเสียงจากการจราจรโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์. Life Sciences and Environment Journal, 10(1-2), 34–45. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17050

Issue

Section

บทความวิชาการ