การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสารสีแดงบนปลายข้าวเจ้าของ Monascus purpureus TISTR 3090 เพื่อนำไปสู่การผลิตในระดับการค้า

Authors

  • นฤมล เถื่อนกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ คือ เพื่อให้ได้วิธีการผลิตสารสีแดงบนปลายข้าวเจ้าของ Monascus purpureus TISTR 3090 ในระดับการค้า ทำการศึกษาภาชนะชนิดต่างๆ ที่แปรผันตามปริมาณปลายข้าว อุณหภูมิและระยะเวลาของการอบแห้ง วิธีการย้อมเส้นใยไหมและฝ้าย และการบรรจุภัณฑ์ วิเคราะห์ผล โดยใช้ค่าสถิติ Duncan’s Multiple Range Test; DMRT และเปรียบเทียบสีกับสีมาตรฐานบริษัทซีตเทิล เฟบริค ผลการวิจัยพบว่า ภาชนะและปริมาณปลายข้าวที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวแดงเพื่อให้ได้ปริมาณมาก ได้แก่ ขวดโหลแก้วขนาดปริมาตร 6,150 มิลลิลิตร ปริมาณปลายข้าว 300 กรัม โหลแก้วขนาดปริมาตร 6,500 มิลลิลิตร ปริมาณปลายข้าว 300 กรัม บีกเกอร์ขนาดปริมาตร 2000, 1000 และ 500 มิลลิลิตร ปริมาณปลาย ข้าว 200 (และ150), 100 และ 50 กรัม ตามลำ ดับ ฟลาสก์ ขนาดปริมาตร 2000, 1000 และ 500 มิลลิลิตร ปริมาณปลายข้าว 150, 100 และ 50 กรัม ตามลำดับ อุณหภูมิและระยะเวลาของ การอบแห้งข้าวแดงที่ เหมาะสมคือ 90 องศาเซลเซียส 20 นาที นำข้าวแดงที่ได้มาบดให้ละเอียด แล้วนำมาย้อมเส้นใยไหมและฝ้าย โดยใช้แช่และต้มในมอร์แดนท์ที่เป็นน้ำมะขาม พีเอช 3.4 พบว่าเส้นใยไหมติด สีส้ม-ชมพู รหัส 555 เส้น ใยฝ้ายติดสีชมพูอ่อน รหัส 503 เส้นใยทั้งสองชนิดติดสีไม่คงตัว การบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมคือ บรรจุผงข้าว แดงในถุงพลาสติกปิดผนึกด้วยเครื่องปิดผนึก

 

Abstract

The objective of the research was to produce red pigment of Monascus purpureus TISTR 3090 using rice grains as commercial media. The study factors were container (varied of rice grains), temperature and dried time, dyeing silk fiber, cotton fiber mordants and packaging. Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) and the standard color chart were used to analyze the data. The result showed that glass jars, beakers and flasks were the best container. Temperature and dried time were 90 oC, 20 minutes. The tamarind juice (pH 3.4) was the best mordant for dyeing silk fiber (pink-orange; code 555) and cotton fiber (pinkness; code 503). However, it was unstable dyeing. Red fermented rice packing in closed sealling plastic bag was the suitable method for packaging.

Downloads

How to Cite

เถื่อนกูล น. (2014). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตสารสีแดงบนปลายข้าวเจ้าของ Monascus purpureus TISTR 3090 เพื่อนำไปสู่การผลิตในระดับการค้า. Life Sciences and Environment Journal, 7(1-2), 14–25. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/17116

Issue

Section

บทความวิชาการ