<b>ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากของร้านอาหารบนเฟซบุ๊ก</b><br> Factors Affecting E-Wom Credibility of Restaurants on Facebook

ผู้แต่ง

  • ชาญฤทธิ์ คงธนารัตน์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐพล อัสสะรัตน์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Electronics Word of Mouth, eWOM, eWOM adoption, Facebook, Information and Normative influence, Perceived eWOM credibility, Restaurant, Word of mouth, WOM, การโน้มน้าวด้านข้อมูลและด้านบรรทัดฐานสังคม, การรับนำข้อมูลไปใช้, การรับรู้ความน่าเชื่อถือ

บทคัดย่อ

Recently, popularity of Social Network Sites (SNSs)’ usage (such as Facebook) is increasing which then change Word of Mouth (WOM)’s format. New format of Electronics WOM combine relationships perspective between eWOM senders and receivers. The major objective of this study is to study the determinants affecting the perceived eWOM credibility and eWOM adoption. Dual process theory has been used to analyze persuasiveness of received message. This study chooses Facebook as a representative to SNSs. Online and Offline questionnaires were used in data collection process. The questionnaires were distributes proportionate to Thailand Facebook users’demography. Path analysis was used by using SPSS and SMARTPLS 3.0. The result of the empirical research found that source credibility has the greatest impact on perceived eWOM credibility following by recommendation rating, argument strength and recommendation consistency respectively. The findings also confirm past studies if consumers perceived eWOM as credible, they tend to adopt the eWOM information. At last, Post Hoc Analysis demonstrates that the level of involvement can moderate the relationships between some determinants (both in two type) and the perceived eWOM credibility.

 

บทคัดย่อ

ปัจจุบันความนิยมการใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์สูงขึ้น (เช่น เฟซบุ๊ก) ส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปาก (WOM) เกิดความเปลี่ยนแปลงเกิดการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ (eWOM) ที่เพิ่มมิติด้านความสัมพันธ์ของผู้รับสารและผู้ส่งสาร จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของeWOM บนเว็บไซต์สังคมออนไลน์และการนำข้อมูลจาก eWOM ไปใช้ แบบจำลองการชักจูงสองทางถูกใช้ในการวิเคราะห์ความโน้มน้าวของสาร การศึกษานี้เลือกเฟซบุ๊กเป็นตัวแทนเว็บไซต์สังคมออนไลน์การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และออฟไลน์ตามสัดส่วนสถิติประชากรศาสตร์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทย จากนั้นจึงใช้การวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรม SPSS และ SMARTPLS3.0 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือสูงสุดคือความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ถัดมาคือคะแนนของบทวิจารณ์ความแข็งแรงของข้อมูล และความสอดคล้องของบทวิจารณ์ ตามลำดับ ผลการศึกษายังช่วยยืนยันการศึกษาในอดีตว่า หากผู้บริโภครับรู้ว่าบทวิจารณ์มีความน่าเชื่อถือก็มีแนวโน้มที่จะนำข้อมูลไปใช้สุดท้าย Post Hoc Analysis พบว่า ระดับความเกี่ยวพันมีส่วนในการควบคุมผลของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบางตัว (ทั้งสองประเภท) ต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ต

Author Biographies

ชาญฤทธิ์ คงธนารัตน์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บธ.ม. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) นักศึกษา

ณัฐพล อัสสะรัตน์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Ph.D. (Marketing) รองศาสตราจารย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-05