วาทกรรมศีลธรรมของกวีนิพนธ์ไทยในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ.2549-25531

ผู้แต่ง

  • พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การเสียสละ; ความจริง; ความบริสุทธิ์; ความอิสรเสรี; วาทกรรมศีลธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์วาทกรรมทางศีลธรรมที่นำเสนอในผลงานกวีนิพนธ์ไทยของกวีไทยที่เขียนขึ้นในช่วงหลังรัฐประหาร พ.ศ.2549 ถึงพ.ศ.2553 ผลการศึกษาพบว่าวาทกรรมทางศีลธรรมแสดงออกผา่ นกรอบเกณฑ์การให้คุณค่าทางการเมืองผ่านมโนทัศน์ความบริสุทธิ์ ความเสียสละ ความอิสระเสรี และการแสดงความจริง ทั้ง 4 มโนทัศน์นี้มีรากเหง้ามาจากวาทกรรมทางศีลธรรมในพุทธศาสนาฝ่ายปฏิรูปผสมผสานกับพุทธศาสนาแบบชนชั้นปกครอง มโนทัศน์ทั้ง 4 นี้ได้ร่วมกันสร้างอำนาจให้กับวาทกรรมเชิงศีลธรรมทางการเมือง สร้างความชอบธรรมให้กวีในการวิพากษ์วิจารณ์เครือข่ายทางการเมืองและผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร อย่างรุนแรง และทำให้กวีมีความมั่นใจในการแสดงจุดยืนทางการเมือง ว่าตนได้นำเสนอแนวคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับการเมืองและสังคมไทยในห้วงความขัดแย้งสองสีนั้นแล้ว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-03