ลักษณะทางภาษาศาสตร์ของการพูด ‘ภาษาอังกฤษที่ดี’ ในภาพยนตร์ไทยฉบับภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • ไพโรจน์ เบ็ญนุ้ย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ภาษาอังกฤษที่ดี, ภาพยนตร์ไทยฉบับภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษมาตรฐานแบบไทย, ลักษณะทางภาษาศาสตร์

บทคัดย่อ

เป็นที่ถกเถียงกันว่า ภาษาอังกฤษที่คนไทยพูดเป็น ‘ภาษาอังกฤษที่ดี’ หรือไม่ กล่าวกันว่าคนไทยจำนวนมากพูด ‘ภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้อง’ เพราะมีข้อผิดพลาดทางภาษาหลายประการ อย่างไรก็ตามปรากฏว่ามีคนไทยจากหลากหลายอาชีพจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในวงการบันเทิง มีนักแสดงไทยหลายคนสามารถพูดภาษาอังกฤษที่ถูกต้องในการแสดงภาพยนตร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ สิ่งนี้ปรากฏชัดในภาพยนตร์ไทยฉบับภาษาอังกฤษ เรื่อง ‘พระเจ้าช้างเผือก’ (The King of the White Elephant) (2484) และ ‘กบฏเท้าศรีสุดาจันทร์’ (The King Maker) (2548) งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์และพรรณนาลักษณะทางภาษาศาสตร์ของการพูด ‘ภาษาอังกฤษที่ดี’ ของตัวละครไทยในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง ตลอดจนอภิปรายว่าลักษณะการพูดดังกล่าวบ่งบอกถึงภาษาอังกฤษมาตรฐานแบบไทยมากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้ใช้กรอบทฤษฎี ‘วัจนลีลาการใช้ภาษาอังกฤษทั้งห้าแบบ’ของ มาร์ติน จูส (2510) และ ‘ภาษาอังกฤษที่ดีในบริบทไทย’ (2542) ของอมรา ประสิทธ์รัฐสินธุ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพบว่า ตัวละครในภาพยนตร์ไทยทั้งสองเรื่องสามารถพูดภาษาอังกฤษโดยมีลักษณะทางภาษาศาสตร์ตามลีลาการใช้ภาษาอังกฤษที่ดี และสะท้อนวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของความเป็นไทยในภาษาอังกฤษ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษาอังกฤษมาตรฐานแบบไทย

Author Biography

ไพโรจน์ เบ็ญนุ้ย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08