<b>การใช้แนวทางการจัดหมวดหมู่แบบแฟซิทในการจัดระบบความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย </b><br> Using Facet Classification Approach for Organizing Knowledge of Thai Traditional Medicine

ผู้แต่ง

  • ศิวนาถ นันทพิชัย สํานักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ
  • ลําปาง แมนมาตย สาขาวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแกน
  • ชลภัสส วงษประเสริฐ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

คำสำคัญ:

Facet Classification, Facet Analysis, Knowledge Organization System, Library Classification Systems, Thai Traditional Medicine

บทคัดย่อ

Abstract

This article presented the results of the research which two objectives were to analyze the knowledge content in delimitation, to classify and organize the knowledge structure, and to analyze the characteristic of knowledge in Thai traditional medicine (TTM) by using facet classification approach. The research findings were as followed: (1) the knowledge content in TTM by conducting the document analysis of 3 current library classification systems included 19 domain. (2) the knowledge content in TTM by conducting the content analysis of 186 issues of textbooks and research reports which sampling from 4 libraries included 9,119 items. (3) When the knowledge content was synthesized, the knowledge structure of TTM can be classified and grouped into 13 classes. (4) The content analysis of knowledge from 13 classes was performed to find knowledge delimitation and characteristic by using simplified model for facet analysis. The results can be organized the knowledge structure by grouping and classifying the structure into 13 classes. Under each class, there were 49 sub-classes, 44 divisions with description of in knowledge delimitation, and unique characteristics of each class. Findings of research also showed relationship of content within each class based on principle of knowledge organization system for ranking the relationship of content within and between classes. Within the system, there were 17 auxiliary tables. Principles for choices of facets were used to obtain these unique characteristics, classify the approach, and group the content. The result from this study may be applied for the development of completed knowledge organization system or producing other additional tools such as subject heading and ontology specifically for Thai traditional medicine. 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการใช้แนวทาง การจัดหมวดหมู่แบบแฟซิทในการจัดระบบความรู้ด้าน การแพทย์แผนไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ เนื้อหาความรู้ เพื่อจัดหมวดหมู่และจัดโครงสร้างความรู้ และเพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะความรู้ด้านการแพทย์ แผนไทยตามแนวทางการจัดหมวดหมู่แบบแฟซิท ผล การศึกษา พบว่า (1) เนื้อหาความรูด้านการแพทย์แผน ไทยที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสารระบบการจัดหมวด หมู่ของห้องสมุด 3 ระบบมีจำนวน 19 กลุ่มความรู้ (2) เนื้อหาความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหาของ หนังสือ ตำรา รายงานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยจาก ห้องสมุด 4 แห่ง คือ ห้องสมุดสถาบันการแพทย์แผนไทย ห้องสมุดสถาบันวิจัยแพทย์แผนไทย ห้องสมุด คณะเภสัชศาสตร์ หอสมุดแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัย มหิดล จำนวน 186 เล่ม มีจำนวน 9,119 รายการ (3) เนื้อหาความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ และจัดโครงสร้างความรูดรู้ด้านการแพทย์แผผนไทยจำแนก เป็น 13 หมวด (Classes) (4) คุณลักษณะความรู้ที่ได้ จากการวิเคราะห์แฟซิท สามารถจัดโครงสร้างความรู้ ในลักษณะของหมวดหมู่ โดยแบ่งกลุ่มความรู้เป็น 13 หมวด ภายใต้แต่ละหมวดแบ่งเป็น 49 หมวดย่อย (Sub-classes) และ44 หมู่ย่อย (Divisions) โดยแต่ละ หมวดจะมีคำอธิบาย ขอบเขตความรู้ และคุณลักษณะ พิเศษของความรู้ สามารถจำแนกเป็นตารางช่วย (Auxiliary tables) จำนวน 17 ตาราง ซึ่งเป็นคุณลักษณะ พิเศษนี้ได้จากการใช้หลักการเลือกแฟซิทในการแบ่ง แยกแนวคิดและจัดกลุ่มเนื้อหาตามแนวทางการจัด หมวดหมู่แบบแฟซิท ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ พัฒนาเป็นระบบการจัดระบบความรู้ด้านการแพทย์ แผนไทยที่สมบูรณ์ หรือนำไปจัดทำเครื่องมืออื่น ๆ เพิ่ม เติม เช่น หัวเรื่อง (Subject Heading) ออนไทโลยี (Ontology) เฉพาะด้านการแพทย์แผนไทย เป็นต้น

Author Biographies

ศิวนาถ นันทพิชัย, สํานักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ

ปร.ด. (สารสนเทศศึกษา), อาจารย  

ลําปาง แมนมาตย, สาขาวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตรมหาวิทยาลัยขอนแกน

Ph.D. (Communication-Information Studies), รองศาสตราจารย์

ชลภัสส วงษประเสริฐ, คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

ปร.ด. (พัฒนศึกษาศาสตร), ผูชวยศาสตราจารย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-01-01