การบาดเจ็บที่ศรีษะรุนแรงน้อย (Mild Traumatic Brain Injury) แต่ปัญหาไม่น้อย

Main Article Content

Yuwares Sittichanbuncha

Abstract

การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นภาวะที่พบบ่อยของผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน สาเหตุที่พบบ่อยของการบาดเจ็บที่ศีรษะในสหรัฐอเมริกา ที่พบบ่อยสุดคือ การพลัดตกหกล้มร้อยละ 35.2 รองลงมาได้แก่ อุบัติเหตุมอเตอร์ไซต์ ร้อยละ 17.3 บาดเจ็บจากอุปกรณ์การเรียน ร้อยละ 16.5 และถูกทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 10 ปัจจุบันการแบ่งระดับความรุนแรงที่ศีรษะ อาศัยคะแนนระดับความรู้สึก GCS (Glasgow Comma Scale) เป็นหลัก โดยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงมีคะแนน GCS < 8 กลุ่มบาดเจ็บศีรษะปานกลางมีคะแนน GCS 9-12 และกลุ่มบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงน้อยมีคะแนน GCS 13-15 การบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีความรุนแรงระดับปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งและความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ รวมถึงการวางแผนการรักษา ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีความรุนแรงน้อย ที่การตัดสินใจในการส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือการรับไว้ในสังเกตอาการในโรงพยาบาลยังมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาลที่มีขนาดและศักยภาพในการตรวจรักษาที่แตกต่างกันได้มาก อย่างไรก็ตาม การประเมินระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะเบื้องต้น โดยใช้คะแนนระดับความรู้สึกตัว GCS เพียงอย่างเดียวอาจก่อให้เกิดปัญหาในการตัดสินใจในการดูแลรักษาของทีมบุคลากรทางการแพทย์ การมีเครื่องมืออื่นๆ ที่จะช่วยประกอบในการพิจารณาตัดสินใจส่งตรวจเพิ่มเติม จะช่วยให้แพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะแพทย์ฉุกเฉิน มีความมั่นใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย


 

Article Details

How to Cite
1.
Sittichanbuncha Y. การบาดเจ็บที่ศรีษะรุนแรงน้อย (Mild Traumatic Brain Injury) แต่ปัญหาไม่น้อย. Rama Med J [Internet]. 2013 Jun. 27 [cited 2024 Apr. 19];36(2):87-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/102525
Section
Editor's Note

References

Faul M, Xu L, Wald MM, Coronado VG. Traumatic brain injury in the United States: emergency department visits, hospitalizations, and deaths. Atlanta (GA): Center for Disease Control and Prevention, National Center for Injury Prevention and Control; 2010.

Severe injury due to transport accident 2007. Bureau of Epidemiology Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2007.

Teasdale G, Jennett B. Assessment of coma and impaired consciousness. A practical scale. Lancet. 1974;2(7872):81-4.

Rimel RW, Giordani B, Barth JT, Boll TJ, Jane JA. Disability caused by minor head injury. Neurosurgery. 1981;9(3):221-8.