การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

Main Article Content

Manote Lotrakul

Abstract

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ผู้ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นซึ่งเป็นช่วงวัยที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลผลิตของประเทศ


จากการศึกษาพบว่า ผู้ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มีโรคทางจิตเวชร่วมด้วย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า การใช้สารเสพติดในทางที่ผิด โรคอารมณ์สองขั้ว และโรคซึมเศร้าดิสไทเมีย การที่บุคลากรทางการแพทย์มีความสามารถในการประเมินผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ให้การช่วยเหลือรักษาหรือส่งปรึกษาจิตแพทย์ จะมีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายได้ ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการประเมินมิได้เป็นจากการขาดความรู้ หากแต่เป็นการเจตคติในทางลบต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้หรือการมองว่าผู้ป่วยต้องการตายเองจึงไม่น่าจะช่วยอะไรได้


วิธีที่ดีที่สุดในการประเมินว่าผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ คือการถามจากผู้ป่วยเอง การสอบถามเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายไม่ทำให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตาย ตรงกันข้ามผู้ป่วยจะรู้สึกคลายความกดดันจากการที่ได้พูดปัญหาของตนเองออกมา

Article Details

How to Cite
1.
Lotrakul M. การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย. Rama Med J [Internet]. 2011 Dec. 26 [cited 2024 Apr. 26];34(4):187-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/137874
Section
Editor's Note

References

Lotrakul M. Suicide: Management and Prevention. Bangkok: Ramathibodi Textbook Project, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; 2010.

Bouch J, Marshall J. Suicide risk: Structured professional judgement. Adv Psychiatr Treat. 2005;11(2):84-91. doi:10.1192/apt.11.2.84.

Dieserud G, Røysamb E, Ekeberg O, Kraft P. Toward an integrative model of suicide attempt: a cognitive psychological approach. Suicide Life Threat Behav. 2001;31(2):153-68.

Pollock LR, Williams JM. Problem-solving in suicide attempters. Psychol Med. 2004;34(1):163-7. doi:10.1017/s0033291703008092.

Hirschfeld RM, Russell JM. Assessment and treatment of suicidal patients. N Engl J Med. 1997;337(13):910-5. doi:10.1056/NEJM199709253371307.