ความคงที่ของการวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้ว

Main Article Content

Manote Lotrakul

Abstract

การวินิจฉัยโรคเป็นขั้นตอนสำคัญในทางการแพทย์ การดูแลรักษาผู้ป่วยจะเป็นไปด้วยดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากเท่าไร ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่แม้ป่วยด้วยโรคเดียวกันแต่อาการและอาการแสดงของโรคอาจแตกต่างกันไป ในระยะแรกอาการโรคอาจไม่ชัดเจนและก้ำกึ่งระหว่างหลายๆ โรค เมื่อผ่านไประยะหนึ่งการแสดงออกของโรคชัดเจนขึ้นทำให้การวินิจฉัยแยกโรคแคบลงตามลำดับ การวินิจฉัยโรคจะมีความแม่นยำสูง หากโรคนั้นเป็นโรคที่มีสมุฏฐานโรคและพยาธิสภาพไม่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวม การวินิจฉัยจะอาศัยข้อมูลหลักจากการเอกซเรย์ปอด และผลการตรวจเสมหะหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ มากกว่าการข้อมูลด้านการแสดงออกของอาการ


ในกรณีของโรคที่มีความซับช้อน การแสดงออกของโรคมีความหลายหลาก หรือเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย การวินิจฉัยจะต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ ด้านประกอบกันมากขึ้นตามองค์ความรู้ของโรคที่มี ได้แก่ ข้อมูลด้านพยาธิกำเนิด พยาธิสภาพ พยาธิสรีรวิทยา ความผิดปกติของผลจากห้องปฏิบัติการ การดำเนินโรค และการตอบสนองต่อการรักษา ยิ่งมีองค์ความรู้สึกถึงระดับสาเหตุโรดและพยาธิกำเนิดมากขึ้นเท่าไร การวินิจฉัยก็จะมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น


โดยรวมแล้ว หากใช้เกณฑ์การวินิจฉัยตามระบบมาตรฐาน โรคอารมณ์สองขั้วมีความคงที่ในการวินิจฉัยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการวินิจฉัยครั้งแรกและการวินิจฉัยครั้งสุดท้ายค่อนข้างสูงคือประมาณร้อยละ 80 และในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอาจพบต่ำกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอื่นในบางช่วงของการกำเริบ ซึ่งบ่งว่าการแสดงออกของโรคอาจไม่เป็นตามแบบฉบับไปตลอดการดำเนินโรค และโรคจิตเวชอื่นที่พบร่วมอาจส่งผลต่อการประเมินเพื่อการวินิจฉัยได้ ในทางปฏิบัติแพทย์ควรนำข้อมูลด้านอื่นๆ เช่น อายุที่เริ่มมีอาการ อาการแสดงในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น ประวัติในญาติสายตรง ปัจจัยทางจิตสังคมที่อาจส่งผลต่อการแสตงออกของอาการ หรือการตอบสนองต่อการรักษามาพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น

Article Details

How to Cite
1.
Lotrakul M. ความคงที่ของการวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้ว. Rama Med J [Internet]. 2010 Sep. 24 [cited 2024 Mar. 29];33(3):157-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/138495
Section
Editor's Note

References

Kendell R, Jablensky A. Distinguishing between the validity and utility of psychiatric diagnoses. Am J Psychiatry. 2003;160(1):4-12. doi:10.1176/appi.ajp.160.1.4.

Kendell RE. Clinical validity. Psychol Med. 1989;19(1):45-55. doi:10.1017/s0033291700011016.

Chang WC Chan SSM, Chung DWS. Diagnostic stability of functional psychosis: a systematic review. Hong Kong J Psychiatry. 2009;19(1):30-41.

Gitlin MJ, Swendsen J, Heller TL, Hammen C. Relapse and impairment in bipolar disorder. Am J Psychiatry. 1995;152(11):1635-40. doi:10.1176/ajp.152.11.1635.

Treuer T, Tohen M. Predicting the course and outcome of bipolar disorder: a review. Eur Psychiatry. 2010;25(6):328-33. doi:10.1016/j.eurpsy.2009.11.012.

Goodwin FK, Jamison KR, Ghaemi SN. Manic-Depressive Illness : Bipolar Disorders and Recurrent Depression. 2nd ed. New York, NY: Oxford University Press; 2007.

Ruggero CJ, Carlson GA, Kotov R, Bromet EJ. Ten-year diagnostic consistency of bipolar disorder in a first-admission sample. Bipolar Disord. 2010;12(1):21-31. doi:10.1111/j.1399-5618.2009.00777.x.

Moreno C, Laje G, Blanco C, Jiang H, Schmidt AB, Olfson M. National trends in the outpatient diagnosis and treatment of bipolar disorder in youth. Arch Gen Psychiatry. 2007;64(9):1032-9. doi:10.1001/archpsyc.64.9.1032.

Tillman R, Geller B. Diagnostic characteristics of child bipolar I disorder: does the "Treatment of Early Age Mania (team)" sample generalize?. J Clin Psychiatry. 2007;68(2):307-14. doi:10.4088/jcp.v68n0218.

Geller B, Tillman R. Prepubertal and early adolescent bipolar I disorder: review of diagnostic validation by Robins and Guze criteria. J Clin Psychiatry. 2005;66 Suppl 7:21-8.

Geller B, Tillman R, Craney JL, Bolhofner K. Four-year prospective outcome and natural history of mania in children with a prepubertal and early adolescent bipolar disorder phenotype. Arch Gen Psychiatry. 2004;61(5):459-67. doi:10.1001/archpsyc.61.5.459.