การทำหมันชาย

Main Article Content

Vachira Kochakarn

Abstract

การทำหมันชายนับเป็นการทำหัตถการเพื่อการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ ทำได้ง่าย มีอัตราความล้มเหลวต่ำถึงแม้ว่าเป็นหัตถการที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานานแต่ในปัจจุบันก็ยังไต้รับการพัฒนามาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้คู่สมรสยอมรับให้เป็นวิธีการคุมกำเนิดเมื่อมีบุตรเพียงพอแล้ว ในประเทศไทยได้มีการบันทึกไว้ว่าการทำผ่าตัดตัดท่อนำน้ำเชื้ออสุจิได้ทำกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ในครั้งนั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุมกำเนิด หัตถการนี้ทำเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อบริเวณอัณฑะหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มียาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพ ต่อมาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 จึงได้มีการใช้เพื่อการคุมกำเนิดแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีนไยบายด้านการวางแผนครอบครัวที่ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แถลงในวาระมีประกาศพระบรมราชโองการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 ว่า “รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนการวางแผนครอบครัวด้วยระบบใจสมัคร เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับอัตราเพิ่มประชากรสูงมากที่จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ" ในขณะนั้นคณะแพทศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้ไม่นานนัก แต่บุคลากรของคณะฯ มีบทบาทสูงในการดำเนินการวางแผนครอบครัวระดับชาติ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ไพฑูรย์ คชเสนี ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระสิงห์ เมืองมั่น ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์วีระ วิเศษสินธุ์ ได้ร่วมออกหน่วยทำหมันชายไปในภูมิภาคต่างๆ ทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยจากการก่อการร้าย พื้นที่ห่างไกล กันดาร การทำหมันชายในระยะนั้นยังเป็นวิธีการเดิม คือเป็นการลงแผลผ่าตัดบริเวณอัณฑะ ดังเช่นในอดีตที่ได้ทำกันมาในต่างประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2427 อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าจะมีการผลักดันจากทางภาครัฐ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีองค์กรเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์การทำหมันชาย แต่จำนวนผู้เข้ามารับบริการยังไม่มากเท่าที่ควรเนื่องจากฝ่ายชายยังมีความกลัวการผ่าตัด รวมทั้งยังมีความวิตกกังวลเนื่องจากเข้าใจผิดว่าหลังการทำหมันจะไม่สามารถทำงานหนักได้ หรือสมรรถภาพทางเพศลดลง นอกจากเราจะต้องทำความเข้ใจให้ถ่องแท้แล้ว การคิดค้นวิธีการผ่าตัดใหม่ๆ เพื่อให้มีการยอมรับในวงกว้าง

Article Details

How to Cite
1.
Kochakarn V. การทำหมันชาย. Rama Med J [Internet]. 2009 Sep. 25 [cited 2024 Apr. 19];32(3):153-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/175407
Section
Special Articles

References

Ratana-Olarn K. Vasectomy. In: Gojaseni P, Ratana-Olarn K, eds. Surgery of the Urinary System and Male Genital Organs, Vol 2: the Male Genital Organs. Bangkok: Siam Stationary; 1994:153-80.

National Economic and Social Development Board Office the Prime Minister. His Excellency Field Marshal Thanom Kittikachorn (the Prime Minister) on the Promulgation of the Third National Economic and Social Development Plan (1972 - 1976). Available from: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3778.

Li SQ, Goldstein M, Zhu J, Huber D. The no-scalpel vasectomy. J Urol. 1991;145(2):341-344. doi:10.1016/s0022-5347(17)38334-9.

Ratana-Olarn K. Vasectomy. In: Leungwattanakij S, ed. Textbook of Ramathibodi Urologic Surgery. Department of Surgery, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University; 2002:26-9.

Kumar V, Kaza RM, Singh I, Singhal S, Kumaran V. An evaluation of the no-scalpel vasectomy technique. BJU Int. 1999;83(3):283-284. doi:10.1046/j.1464-410x.1999.00934.x.

Nirapathpongporn A, Huber DH, Krieger JN. No-scalpel vasectomy at the King's birthday vasectomy festival. Lancet. 1990;335(8694):894-895. doi:10.1016/0140-6736(90)90487-p.

Edwards IS. Earlier testing after vasectomy, based on the absence of motile sperm. Fertil Steril. 1993;59(2):431-436. doi:10.1016/s0015-0282(16)55706-9.