ประสบการณ์การวิจัยเปรียบผลของโปรแกรมสุขภาพต่อสมรรถภาพทางกายผู้สูงวัยของประเทศไทยและญี่ปุ่น

Main Article Content

Suchinda Jarupat Maruo
Supalak Choeychom
Wanna Sanongdetch
Ruja Phuphabul
Koichi Terasawa
Siriporn Sasimontankul

Abstract

การสร้างเสริมสมรรรถภาพทางกายที่ดีควรสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคม การออกกำลังกายเป็นการทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่สูงและมีการประสานงานกันของระบบหัวใจ การไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบอาหารและการขับถ่าย มีภูมิต้านทานดี นอกจากนี้ทำให้รูปร่างทรวดทรงดี การทรงตัวดี บุคลิกภาพดี และมีสุขภาพจิตดี การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาสมรรถภาพทางกายที่หมายถึงความสามารถของบุคคลในการใช้ระบบต่างๆ ของร่างกายประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวกับการแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโปรแกรมกิจกรรมจัดให้กับผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุอาจไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการเพิ่มศักยภาพทางด้านร่างกายในแง่ของการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในระยะเวลาอันสั้น แต่ในด้านความยั่งยืนของโปรแกรมพบว่า ประสบผลสำเร็จได้รับความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโปรแกรมให้ความสนุกสนานสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกผู้สูงอายุ แต่ในแง่การเข้าสู่ข้อมูลสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมจากคอมพิวเตอร์พบว่าไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้สูงอายุไทยยังน้อย การใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศโดยวิธิสำหรับผู้สูงอายุไทยยังไม่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
1.
Jarupat Maruo S, Choeychom S, Sanongdetch W, Phuphabul R, Terasawa K, Sasimontankul S. ประสบการณ์การวิจัยเปรียบผลของโปรแกรมสุขภาพต่อสมรรถภาพทางกายผู้สูงวัยของประเทศไทยและญี่ปุ่น. Rama Med J [Internet]. 2014 Sep. 30 [cited 2024 Apr. 20];37(3):170-3. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/98152
Section
Special Articles