การดำเนินการของประเทศไทยต่อกรณีการโยกย้ายถิ่นฐาน แบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียของชาวโรฮินจา Thailand on Irregular Migration in the Indian Ocean

ผู้แต่ง

  • เบญญา บุญส่ง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การโยกย้ายถิ่นฐานในมหาสมุทรอินเดียของชาวโรฮินจาเกิดขึ้นเนื่องมาจากการไม่ได้รับการยอมรับสถานะจากรัฐบาลเมียนมาและบังกลาเทศให้เป็นพลเมืองของตน ประกอบกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตอยู่ภายในประเทศดังกล่าว และการแสวงประโยชน์ของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ ทำให้ชาวโรฮินจาจำนวนมากเดินทางโดยทางเรือลักลอบเข้าเมืองในประเทศต่าง ๆ เพื่อแสวงหาหนทางการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า ประเทศไทยถือเป็นจุดหมายแรกของชาวโรฮินจาเหล่านั้นในการขึ้นสู่ฝั่งหลังรอนแรมในทะเลมาเป็นแรมเดือน ที่ผ่านมามีชาวโรฮินจาจำนวนหลายพันคนเดินทางผ่านน่านน้ำไทยไปยังประเทศที่ 3  และมีบางส่วนลักลอบขึ้นฝั่งประเทศไทยเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 ทางบก บางส่วนก็ปักหลักหลบหนีทำงานอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ  ในการแก้ไขปัญหา แต่ดูเหมือนว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ส่วนต้นตอของปัญหาที่แท้จริงของจุดเริ่มต้นการโยกย้ายถิ่นฐานคือการไม่ยอมรับชาวโรฮินจาของประเทศต้นทางอย่างเมียนมาและบังกลาเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงยังต้องเผชิญกับปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานต่อไป ท่ามกลางการจับตามองของบรรดาองค์กรสากล             เอ็นจีโอ ตลอดจนสื่อมวลชนทั้งภายนอกและภายในประเทศ ว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐาน          ตามหลักมนุษยธรรมหรือไม่ ผนวกกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในไทยซึ่งมีเครือข่ายผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง เป็นการซ้ำเติมภาพพจน์ในแง่ลบต่อประเทศไทยมากขึ้นไปอีก การดำเนินการต่อผู้อพยพจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำเป็นต้องกำหนดมาตรการรองรับที่เหมาะสม โดยในระยะสั้นนั้นควรบูรณาการการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานชาวโรฮินจาให้เกิดความเป็นเอกภาพ ควบคู่ไปกับการกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่สมดุลและมีความสอดคล้องกัน ระหว่างผลประโยชน์ของชาติซึ่งได้รับผลกระทบในมิติต่าง ๆ กับกฎหมาย หลักการสากล และข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างประเทศ รวมทั้งการกำหนดรูปแบบในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้โยกย้ายถิ่นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนั้นควรประสานความร่วมมือระหว่างชาติในการปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวโรฮินจาอย่างจริงจังและให้เกิดผลเป็นรูปธรรม สำหรับมาตรการในระยะยาวควรสนับสนุนให้เมียนมาและบังกลาเทศ ยอมรับชาวโรฮินจาว่าเป็นพลเมืองของตน และแสวงหาความร่วมมือจากนานาชาติในการยอมรับผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่ยังตกค้างอยู่ในประเทศไทยและต้องการเดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 ซึ่งจะทำให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวโรฮินจาที่ประเทศไทยต้องแบกรับภาระอยู่ ณ ขณะนี้ลดน้อยลง และอาจสิ้นสุดลงในอนาคต หากมาตรการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถดำเนินการได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract

          The Irregular Migration of “Rohingya” in the Indian Ocean is caused by the unacceptance of Rohingya’s citizenships by the government of Myanmar and Bangladesh. From the year 2010, hundreds of thousands of Rohingyas have migrated from Myanmar and Bangladesh to many countries mostly to South East Asia such as Thailand, Malaysia and Indonesia. This is an irregular situation which brings the concern to the world community like United Nations and also human rights organization, especially the “countries of destination” which has the direct impact of this migration such as Thailand.

These articles address the background  of Rohingya problem, the current situation, the impact of migration to Thailand and propose the short term and long term measures to reduce the impact.

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-15