ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กับบทบาทในการบรรเทาสาธารณภัยในทะเล

ผู้แต่ง

  • พลเรือตรี ภารดร พวงแก้ว

คำสำคัญ:

ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง ทะเลหลวง ไหล่ทวีป เขตเศรษฐกิจจำเพาะ

บทคัดย่อ

บทบาทของ ศรชล. ในการบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลภายหลังจากการยกระดับ
เป็นศูนย์อำนวยการแล้วนั้น ด้วยแนวโน้มการเกิดสาธารณะภัยในทะเลที่สูงขึ้น มีความรุนแรง
และส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น รัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก และลักษณะของ
สาธารณภัยทางทะเลที่มีความแตกต่างจากสาธารณภัยทางบกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในประเด็นของการที่ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และการบริหารจัดการภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ศรชล. ในฐานะศูนย์อำนวยการ ซึ่งมีอำนาจในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาสาธารณภัยในทะเล สามารถกำหนดบทบาทของตนในการบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการบูรณาการเครื่องมือของรัฐในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลต่อไป ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดบทบาทของ ศรชล.ในฐานะศูนย์อำนวยการในการบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลนั้น ควรกำหนดให้ครอบคลุมใน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย ๑. แนวคิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในภารกิจ
ด้านการบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายเพื่อการกำหนดนโยบายให้เชื่อมโยงกันมากขึ้น ๒. แนวคิดการประเมินสถานการณ์และการเตรียมความพร้อม
โดยจัดทำแนวความคิดในการประเมินสถานการณ์และเตรียมความพร้อมของ ศรชล. ให้สอดคล้องกับแนวความคิดในการบรรเทาสาธารณภัยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐
๓. แนวคิดการควบคุม สั่งการและประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในการควบคุม
สั่งการ เมื่อสาธารณภัยทางทะเลเกิดขึ้นของ บก.ศรชล. ซึ่งกำกับดูแลการจัดการสาธารณภัยในทะเล ควรมีความเชื่อมโยงในระดับเดียวกันกับกองบัญชาการบัญชาการบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.กปภ.ช) เพื่อให้เกิดเอกภาพด้านนโยบายการบรรเทาสาธารณภัยในภาพรวม และเกิดการ
บูรณาการทรัพยากรของหน่วยปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-24