ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

กรวิชญ์ ธรมมปัต
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาระดับการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธและการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับปานกลาง (r=.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ4) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ได้แก่ หน่วยงานควรจัดหาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมและเพียงพอ และควรจัดอบรม แลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทุกภาคส่วน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ภาวัฒน์ พันธุ์แพ, “ผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้” วารสารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,ปีที่ 24, ฉบับที่ 3, 2547, หน้า. 51-62.
2.ไสว บุญขวัญ, “ภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์”,วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.
3.เสฐียรพงษ์ วรรณปก, “ประวัติสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ”, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์2559, สืบค้นจาก http://www.onab.go.th.
4.ธีรวุฒิ นกยูงทอง, “ภาวะผู้นำเชิงพุทธของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์”, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
5.ธงชัย สมบูรณ์, “จากองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่องค์กรเปี่ยมสุข”, กรุงเทพฯ, ปราชญ์สยาม, 2549.
6.รูสนานี ยาโม, “ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้”, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2555.
7.กณิศนันท์ ดีดวง, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวินัยในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับระสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานครูโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี”, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2555.
8.นภาดาว เกตุสุวรรณ, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียงกับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาพอเพียงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4”, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2555.