ผลของการจัดโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วัชรินทร์ เสมามอญ

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และเพื่อศึกษาผลการจัดโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาผู้นำนันทนาการ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 132 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการ และแบบประเมินทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent samples


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งทักษะทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 60.5 และหลังการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 84.5 ดังนั้นหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 24

  2. ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งทักษะทางสังคมด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นของกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 59.8 และหลังการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 87.8 ดังนั้นหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 28

  3. ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งทักษะทางสังคมด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นของกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 59.8 และหลังการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 82.5 ดังนั้นหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 7

  4. ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองมีทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งทักษะทางสังคมด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นของกลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้าน
    การทำงานร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 61.5 และหลังการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 83.5 ดังนั้นหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีทักษะทางสังคมด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 22

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 คงศักดิ์ เจริญรักษ์, “นันทนาการกับความตองการของมนุษย์,” วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 80-81, 2527.
2 สุวิมล ตั้งสัจพจน์, ทฤษฏีนันทนาการและการใช้เวลาว่าง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547.
3 กมล สุวรรณศรี, นันทนาการ, วิทยาลัยสวนดุสิต, ม.ป.ป..
4 พีระพงศ์ บุญศิริ, นันทนาการและการจัดการ, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2542.
5 นพรัตน์ นาชาสิงห์, “การศึกษาเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสุโขทัย ที่มีระดับการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านพรหมวิหารสี่ และประสบการณ์ทางสังคมแตกต่าง,” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
6 วรรณสวัสดิ์ อุทัยพันธุ์, “ผลของกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2540.
7 เรวดี ศิรินคร, “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความร่วมรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.