รูปแบบกิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ประวิทย์ ประมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในโรงเรียนกองทุนการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้มีส่วนได้และส่วนเสีย และนักเรียน จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก             กึ่งโครงสร้าง ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.95 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรม ค่าซึ่งมีค่า  ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.88 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และประเมินความพึงพอใจ การวิคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เอกสารและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบกิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในโรงเรียน                  กองทุนการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ ด้านนโยบายการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้านบทบาทของครูผู้สอนในสถานศึกษา ด้านกิจกรรมที่สถานศึกษาได้จัดให้กับนักเรียน ด้านขั้นตอนการจัดโครงการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้านการประเมินความสำเร็จของกิจกรรม และด้านผลการปฏิบัติ หรือผลลัพธ์ของโครงการ (2) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในโรงเรียน          กองทุนการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อหมวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 หมวดการสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 หมวดการสร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 หมวดการสร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพและทักษะชีวิตอยู่ในเกณฑ์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 และหมวดประเด็นรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ในเกณฑ์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 คู่มือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ, 2558.
2 A. Bednar, D. T. Cunningham, T. Duffy and D. Perry, Theory in Practice: How do We Link? In G. Anglin (Ed.), Instructional Technology: Post, present, end future (2nd ed). Englewood, Co: Libraries Unlimited. 1991.
3 อังศุมาลิน เคนจัตุรัส, “รูปแบบโปรแกรมพลศึกษาและกีฬา ในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี, 2559.
4 อรุณณี จิระพลังทรัพย์, “การจัดกิจกรรมพลศึกษาระดับปฐมวัย กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ และโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางการกีฬา, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552.
5 ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน, พิมพ์ครั้งที่ 18 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2557.
6 วาสน์ กรมจรรยา, “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
7 เกศราพร พยัคฆ์เรือง, “ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.
8 สุรินทร์ มั่นประสงค์, “การบริหารจัดการกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก,” รายงานการศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2559.
9 ศิริกาญจน์ งาช้าง, “การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเชียงดาววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2560.