การถอดองค์ความรู้ วัฒนธรรมชุมชุม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางในการพัฒนากลุ่มชุมชนให้มีความพร้อมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา : วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชุมพล พืชพันธ์ไพศาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนมุสลิมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศึกษาแนวทางในการพัฒนากลุ่มชุมชนให้มีความพร้อมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมชุมชน ของชุมชนมุสลิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การทดลองทำอาหาร ทดลองท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า 1) วัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนมุลลิม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีทั้งที่มีลักษณะเฉพาะของชุมชนเอง และผสมผสานวัฒนธรรมมุสลิมในแหล่งอื่น ๆ ของประเทศ โดยเป็นวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในเทศกาลประเพณีตลอดจนวันสำคัญต่าง ๆ ทางศาสนามีอาหารที่เป็นวัฒนธรรมเชิงวัตถุที่พัฒนาใช้ในประเพณีต่าง ๆ ร่วมกันอย่างหลากหลาย 2) แนวทางในการพัฒนาให้มีความพร้อมเพื่อการจัดการท่องเที่ยว กลุ่มชุมชนมีความเห็นร่วมกันว่า ควรจัดการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับหลักการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พร้อมนำเสนอในรูปแบบของ Model ELSVDE โดยให้ความสำคัญในการพัฒนา 3 ด้าน คือ 2.1) ด้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.2) ด้านคุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 2.3) ด้านประสบการณ์ตรงกับเจ้าของวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. (28 มีนาคม 2559). องค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). สืบค้นเมื่อ สิบค้นจาก: http://www.dasta.or.th/creativetourism/attachments/article/112/20_9271.pdf
2 Crispin Raymond and Greg Richards. (2015 July 18). Creative Tourism. Available : http://www.dasta.or.th/creativetourism/attachments/article/112/20_9271.pdf
3 การจัดประชุมสัมมนาของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก (Pacific Asia Travel Association : PATA) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ณ ประเทศภูฎาน สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 2559.สืบค้นจากhttp://etatjournal.com/web/etat-journal/2012/2012-apr-jun/449-22555-travel
4 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา (DISCOVERING AYUTTHAYA), พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพ: มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย, 2550
5 วันทนา เนาว์วัน และคณะ “การศึกษาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา :ผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมมุสลิม ชุมชนเมือง เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา , 2558.
6 นิดดา หงส์วิวัฒน์, อาหารมุสลิม, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงแดด, 2547.
7 ธีระ สินเดชารักษ์ และนาฬิกอติภัค แสงสนิท, “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:การรับรู้ของนักท่องเที่ยวความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย,”บทความคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554 ,หน้า 1-22.
8 สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism), องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2556.