แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน

Main Article Content

รวินท์พร สุวรรณรัตน์
บังอร โสฬส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และประสิทธิผลการทำงานในองค์การของบุคลากรวัยทำงาน รวมทั้งศึกษาอำนาจในการทำนายประสิทธิผลการทำงานในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยพนักงานในองค์การต่างๆ ซึ่งเป็นนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จำนวน      401 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 401 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มทีละตัวแปร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้   1) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิผลการทำงานในองค์การทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 2) แรงจูงใจในการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 3) แรงจูงใจในการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิผลการทำงานในองค์การทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 4) แรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอำนาจร่วมกันทำนายประสิทธิผลการทำงานในองค์การได้ร้อยละ 51.6 ผลการวิจัยทำให้เสนอแนะได้ว่าองค์การควรส่งเสริมพัฒนาให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงานสูง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานในองค์การสูงตามไปด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 N. Bennett and G. J. Lemonie. (2 ธันวาคม2559). Crisis Management : What VUCA Really Means for You. สืบค้นจาก https://hbr.org/2014/01/what-vuca-really-means-for-you.
2 วิชัย โถสุวรรณจินดา, แรงงานสัมพันธ์: กุญแจแห่งความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง, พิมพ์ครั้งที่ 6สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544.
3 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (16 ธันวาคม2559). จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน จำแนกตามชั้นและระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2549–2557. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/ nso/web/statseries/statseries06.html
4 H. Aguinis, “Performance Management (3rd ed.)”, Pearson Prentice Hall, 2013.
5 D. W. Organ, “Organizational Citizenship Behavior: The Good Solider Syndrome”, Lexington, 1988.
6 E. M. Mundel, “Improving Productivity and Effectiveness (1st ed.)”, Prentice-Hall, 1983.
7 ลาวัลย์ พร้อมสุข, “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มบริษัทมินีแบ (ประเทศไทย) ,” วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยายาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2544.
8 J. W. Atkinson, “An Introduction to Motivation (1st ed.)”, Van Nostrand, 1964.
9 ดวงเดือน พันธุมาวิน, “ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม: การวิจัย และการพัฒนาบุคคล”, โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2538.
10 ฐิติพร ก้อนนาค, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กรณีศึกษา พนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักธุรกิจถนนตากสิน,” การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
11 เฉลิม สุขเจริญ, “แรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี,” การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก, 2557.
12 รัฐพล ศรีกตัญญู, “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สำนักงานอาคารกลาสเฮ้าส์ รัชดาภิเษก,” การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
13 วิริณธิ์ ธรรมนารถสกุล, “อิทธิผลของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การต่อผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ: ศึกษาในอิทธิพลทางตรง อิทธิพลคั่นกลาง และอิทธิพลสอดแทรก,” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ฉบับปริทัศน์, ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, หน้า 51-69, 2546.
14 P. M. Podsakoff, S. B. MacKenzie, J. B. Paine and D. G.Bachrach, “Organizational Citizenship Behaviors: A Critical Review of the Theoretical and Empirical Literature and Suggestions for Future Research,” Journal of Management, Vol. 26, No. 3, pp. 513-563, 2000.
15 หัตยา สุบรรณ, “ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการทำงาน ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้,” วิทยานิพนธ์ วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
16 วิชต์ ชามีรส, “ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันในองค์กรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร: กรณีศึกษา บริษัท ก่อสร้างต่างชาติแห่งหนึ่ง,” การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.
17 D. C. McClelland, “The Achievement Motive (1st ed.)”, Appleton Century Crofts, 1953.
18 ภาวิดา พันระกา, กิติพงษ์ หาญเจริญ, และฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ และนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, “แรงจูงใจกับประสิทธิผลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน,” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, ปีที่ 27, ฉบับที่ 2, หน้า 40-49, 2554.
19 ณิชา คงสืบ, “แรงจูงใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา: บริษัทลิสซิ่ง แห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร,” การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558.