ความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุในตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

เมธารัตน์ จันตะนี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ ในตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า : 1) ข้อมูลสภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรส มีรายได้จากเงินสนับสนุนของรัฐบาล มีความรู้/ความถนัด ในอาชีพด้านเกษตรกรรม และในอนาคตต้องการประกอบอาชีพเกี่ยวกับด้านเกษตรกรรม มีความต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลช่วยในเรื่องสนับสนุนงบประมาณ ใน อบต. เป็นผู้ดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และรัฐบาลช่วยเหลือผู้สูงอายุด้านเบี้ยยังชีพ 2) ข้อมูลความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ พบว่า ระดับความต้องการพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3) การทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความต้องการพัฒนาอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, “รายงานการสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2507-2538”, กรุงเทพฯ, 2540.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”, สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ บริษัท ที คิวพี, 2553.

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลสามบัณฑิต, “บัญชีรายชื่อผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพฯ ประจำปี

งบประมาณ 2556”, อบต.สามบัณฑิต, 2556.

เบญจมาภรณ์ อิศรเดช และคณะ, “การวิจัยธุรกิจ กรุงเทพฯ”, สำนักพิมพ์ เมคกรอ-ฮิล, 2554.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และคณะ, “พื้นฐานการวิจัย กรุงเทพฯ”, บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2553.

Yamane Taro, “Statistics : An Introductory Analysis. Tokyo : harper International Edition, 1970.

อภินันท์ จันตะนี และคณะ, “การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ” , สำนักพิมพ์พิทักษ์อักษร จำกัด, 2545.