การวัดความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบัญชีครัวเรือน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ภาวินีย์ ธนาอนวัช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงความรู้ ทัศนคติ ที่มีต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี 2556 เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำชุมชนคือผู้ใหญ่บ้านและหัวหน้าครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า หัวหน้าครัวเรือน มีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและบัญชีครัวเรือนในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ มากที่สุด และมีทัศนคติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน ในเรื่องความรู้ที่ได้จากการจัดทำบัญชีครัวเรือนช่วยในการวางแผนการออมเงินของท่านในอนาคตได้ มากที่สุด  หัวหน้าครัวเรือนมีทำบัญชีและไม่จัดทำบัญชีในสัดส่วนเท่าๆ กัน คือร้อยละ 49.0 และร้อยละ 48 สาเหตุหลักในการจัดทำบัญชีเพื่อต้องการทราบรายรับ-รายจ่ายของครอบครัว เพื่อต้องการให้ครอบครัวมีฐานะดี ส่วนสาเหตุที่ไม่จัดทำ เนื่องจาก ไม่เข้าใจรูปแบบ/วิธีการจัดทำบัญชี เสียเวลาในการจัดทำ เห็นว่าไม่มีประโยชน์/ไม่จำเป็น มีความสนใจเข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 82.0 กลุ่มตัวอย่างผู้นำชุมชนที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดทำบัญชีครัวเรือนในระดับที่สูง ร้อยละ 88.66 ทัศนคติเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต มากที่สุด ทัศนคติเกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน ประชาชนในชุมชนมีความรู้ที่ได้จากการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนจะช่วยให้วางแผนการออมของตนเองและครอบครัวได้ ถ้าครอบครัวในชุมชนได้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน จะทำให้ครอบครัวมีเงินออมมากขึ้น และอยากให้ชุมชนได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการฝึกอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน การจัดทำบัญชีครัวเรือนพบว่า 4 ใน 5 ได้จัดทำบัญชีครัวเรือน โดยมีการจดรายการรับ-จ่าย แบบง่ายๆ จากความรู้ที่ได้อ่านจากหนังสือ สิ่งพิมพ์และจากโฆษณา ส่วนใหญ่เคยรับการฝึกอบรม เนื่องจากความได้เปรียบในการเป็นผู้นำชุมชน ทำให้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมก่อนชาวบ้านทั่วไป 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ประชาไท, “เศรษฐกิจพอเพียง”กับ“การสถาปนาพระราช อํานาจนํา” เสวนาที่ ม.อุบลราชธานี, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550.
2 ข้อมูลตำบลสามบัณฑิต, (ออนไลน์) ค้นเมื่อ มกราคม, 2557, สืบค้นจากhttp://www.sambundit.net/html/pawat.html
3 วิชิต อู่อ้น, “การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ”, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
4 เสรี ลาชโรจน์, “หลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาในโรงเรียน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษาหน่วยที่ 3”, มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี, 2537.
5 นิรมล กิติกุล, “วิธีวิจัยทางธุรกิจ”, นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป”, 2552.
6 วาริพิณ มงคลสมัย,“งานวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ทางบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เชียงใหม่”, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2552.